วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

วันว่าง

วันนี้เป็นวันหยุด(วันจักรี) นั่งทำงานที่บ้านนะ ปวดหลังมากเลยหงะ แต่ก็อดทน แบบว่าทำงานไปด้วย ฟังเพลงด้วย แล้วก็กินไปด้วยอะนะ คิดว่าวันนี้จะทำ Story Board โปรโมต สปอต 30 วีให้เสร็จ วันศุกร์จะได้ถ่ายอะนะ ช่วงนี้ขยันคิดงานเป้นพิเศษนะ อีกสองวันก้จะได้หยุดยาว เรียกได้ว่า 9 วันเลยทีเดียวนะ แว๊บเข้ามาเขียน blogger ไม่ได้เขียนมานานมากเลยหงะ แค่นี้ก่อนละกัน รีบทำ เพราะติดละครเรื่อง ดอกส้มสีทองมาก ชมพู่ เล่นได้ใจจริงๆๆเลยหงะ

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2551

หอพิพิธภัณฑ์ไท ยวน สระบุรี



ออกทริปสระบุรี



วันที่ 18-19 กันยายนอะ อยู่ที่สระบุรี ไปออกทริปกับเพื่อนๆ ในกลุ่ม กลม. (แก็งลูกหมู)
เราเริ่มออกเดินทางจากกรุงเทพฯด้วยรถตู้เวลา 09.00 น. ในรถเราเอาแผ่นหนังบุญชูไป ก็นั่งดูไปเรื่อยจนถึงสระบุรี

วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551

เพลงเรือแหลมโพธิ์ จังหวัดสงขลา

เพลงเรือแหลมโพธิ์ จังหวัดสงขลา


เพลงเรือแหลมโพธิ์คืออะไร
จังหวัดสงขลาเป็นจังหวัดหนึ่งที่สืบทอดประเพณีชักพระมาตั้งแต่โบราณ มีทั้งการชักพระทางบก ซึ่งชักลากรถหรือเลื่อนที่ประดิษฐานบุษบกพระไปตามถนนหนทาง กับการชักพระทางน้ำ ซึ่งชักลากเรือบุษบกพระไปตามแม่น้ำลำคลอง บางทีก็ออกสู่ทะเล โดยเฉพาะทะเลสาบสงขลา การชักพระทางน้ำนี้เองเป็นต้นกำเนิดของการเล่นเพลงเรือของภาคใต้ โดยเฉพาะเพลงเรือแหลมโพธิ์ ของจังหวัดสงขลา ที่เล่นสืบทอดประเพณีกันมานานนับร้อยปี เพลงเรือแหลมโพธิ์ คือเพลงเรือที่มีศูนย์กลางการเล่นอยู่ที่บริเวณแหลมโพธิ์ ซึ่งเป็นแหลมเล็กๆ ยื่นลงไปในทะเลสาบสงขลา พื้นที่ประมาณ ๕ ไร่ อยู่ทางตอนเหนือของหมู่ที่ ๓ บ้านแหลมโพธิ์ ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นเพลงที่พวกฝีพายเรือยาวร้องเล่นในเรือร่วมกับประเพณีชักพระ เพื่อชักลากเรือบุษบกพระไปสู่จุดหมายในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑
เพลงเรือแหลมโพธิ์เป็นเพลงเรือเช่นเดียวกันกับเพลงเรือที่มีเล่นในภาคกลางของประเทศไทย มีลักษณะเป็นประเพณีราษฎร์ แต่ความน่าสนใจศึกษาเฉพาะกรณีเพลงเรือแหลมโพธิ์อยู่ที่เพลงเรือแหลมโพธิ์เป็นเพลงเรือที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ไม่มีที่ใดเหมือน หากว่าเพลงเรือแหลมโพธิ์เป็นเพียงเพลงที่เล่นกันในเรือ ว่าโต้ตอบกันระหว่างหนุ่มสาวแล้ว เพลงเรือแหลมโพธิ์ก็คงจะแตกต่างจากเพลงเรือภาคกลางดังกล่าวเพียงพื้นที่เล่นและภาษาในเพลงซึ่งเป็นภาษาถิ่นเท่านั้น แต่เพลงเรือแหลมโพธิ์นอกจากเป็นเพลงเล่นในเรือแล้ว ในส่วนอื่นๆ จะไม่เหมือนกับเพลงเรือในภาคกลางเลย
เพลงเรือแหลมโพธิ์ จึงเป็นเพลงอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งแต่เดิมคนทั่วไปมักเข้าใจว่าเพลงเรือนั้นมีเพียงรูปแบบเดียว คือเพลงเรือของภาคกลาง โดยเฉพาะแถบจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี สิงห์บุรี และอ่างทองเท่านั้น

ชื่อเพลงเรือแหลมโพธิ์
เพลงเรือแหลมโพธิ์นี้เรียกชื่อตามสถานที่ที่เป็นจุดนัดหมายที่เรือเพลงชักพระมารวมกัน คือที่แหลมโพธิ์แล้วขึ้นเล่นเพลงเรือต่อกันบนบริเวณแหลมโพธิ์ด้วย
จากการศึกษาเกี่ยวกับชื่อเพลงเรือ แม้พื้นที่ในเขตอำเภอหาดใหญ่เพียงเขตเดียวก็เรียกชื่อต่างๆกันออกไป เช่น ตำบลแม่ทอมจะเรียก “เพลงเรือ” ตำบลคูเต่าเรียก “เพลงยาว” บ้าง “เพลงเรือยาว” บ้าง ตำบลบางกล่ำ บ้านหนองม่วงนั้นเรียกว่า “เพลงยาว” และเรียกเพลงเรือสั้นๆ ขนาด ๒-๓ กลอนจบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพลงของพวกขี้เมาว่า “เพลงเรือบก” พระมหาเจริญ เตชะปัญโญ แห่งที่พักสงฆ์บ้านแหลมโพธิ์กล่าวว่า “มีคำเรียกเพลงเรืออีกคำหนึ่งคือคำว่า เพลงร้องเรือ แต่ในจำนวนทั้งหมด คำว่าเพลงยาวเป็นคำที่เรียกเก่าแก่ที่สุด ในเพลง “ชมนมพระ” ของนายพัน โสภิกุล ได้กล่าวถึงชื่อนี้ไว้กลอนหนึ่งว่า “บ้างร้องเพลงยาวรำเพลงต่างต่าง” คำว่า “เพลงยาวนี้” ได้รับการยืนยันจากผู้สูงอายุในพื้นที่เก็บข้อมูลเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นคำตัดมาจากคำว่า “เพลงเรือยาว” เพราะแต่เดิมเรือที่ใช้ชักพระและเล่นเพลงนั้นเป็นเรือยาวแทบทั้งนั้น ด้วยว่า “เรือยาวเป็นเรือสำหรับผู้ชาย ส่วนเรือสำหรับพวกผู้หญิงนั้นเรียกเรือเพรียว” เรือเหล่านี้มักเป็นของวัด จะมีกันวัดละหลายๆ ลำ อย่างวัดอู่ตะเภา วัดคูเต่ามีมากถึงวัดละ ๗-๘ ลำ เพิ่งมาตอนหลังเมื่อมีการตัดถนนเข้าสู่หมู่บ้านมากขึ้น ความจำเป็นในการใช้เรือน้อยลง เรือเหล่านั้นก็ถูกขายไปเป็นอันมาก แต่เป็นที่น่ายินดีที่มีการจัดสร้างเรือยาวขึ้นใหม่ที่วัดอู่ตะเภา เพื่อใช้ในพิธีชักพระ

กำเนิดเพลงเรือแหลมโพธิ์
เป็นที่น่าเชื่อว่าประเพณีการชักพระทางน้ำเป็นต้นกำเนิดการเล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์ การชักพระทางน้ำเกิดขึ้นจากศรัทธาของพุทธศาสนิกชนที่มีพื้นภูมิอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เป็นลุ่มน้ำ ไม่มีเส้นทางบกอื่นใดอันอาจจะอัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานบนรถหรือเลื่อนชักลากไปได้ จึงได้คิดหาวิธีอัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานบนเรือชักลากไปแทน ซึ่งก็ทำให้ได้รับศรัทธาผลสมจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกัน
เรือพระทางน้ำนั้นก็ได้รับการประดับตกแต่งทั้งตัวเรือและนมพระ (พนมพระหรือมณฑปพระ) เช่นเดียวกับการชักพระทางบก บางทีอาจจะวิจิตรพิสดารกว่าเรือพระทางบกเสียด้วยซ้ำ ทั้งนี้เรือพระ น้ำในสมัยโบราณบางลำใช้เรือยาวผูกขนานต่อติดกันถึง ๓ ลำ เรือพระยิ่งลำใหญ่เท่าใดก็ยิ่งต้องอาศัยแรงชักลากจากฝีพายเรือชักลากมากลำขึ้นเท่านั้น ด้วยแรงศรัทธาและความเชื่อที่ว่า “เมื่อพระหลบหลัง ฝนจะตกหนัก” กับความบันดาลใจในความวิจิตรงดงามด้วยศิลปะพื้นบ้านที่แข่งสีสันตัดกันลานตาของเรือพระ กับสีสันของเสื้อผ้าอาภรณ์และหน้าตาของสตรีเพศทั้งที่ไม่อาจไปร่วมในการชักพระ เพียงแค่มายืนส่งสลอนอยู่บนสองฝั่งคลองกับสตรีเพศที่ร่วมลำไปด้วยในกระบวนชักพระนั้น ทำให้คนพื้นบ้านภาคใต้ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นผู้ที่มีอารมณ์ทางกาพย์กลอนสูงอยู่แล้วได้เกิดปฏิภาณเป็นถ้อยคำร้อยเรียงดังๆ ออกมาคนหนึ่งแล้วคนอื่นๆ ในกลุ่มก็มีอารมณ์ร่วมรับตามต่อๆกัน เมื่อเห็นว่าการร้องรับกันแบบนี้สนุกและทำให้เกิดพลังความฮึกเหิม เป็นสื่อร่วม กำหนดให้ลงฝีพายพร้อมๆกัน สามารถบรรลุถึงจุดหมายของกิจกรรมชักพระร่วมกันได้ ก็นิยมว่าเป็นสิ่งดี เป็นวัตกรรมแห่งสมัยที่ควรจดจำไว้ปฏิบัติอีกในคราวต่อๆไป จนกระทั่งพัฒนาเป็นเพลงเรือแหลมโพธิ์ในที่สุด
ในชั้นแรก เพลงเรือแหลมโพธิ์คงจะเป็นเพลงกลอนด้นหรือกลอนปฏิภาณที่มีความยาวไม่มากนัก อาจจะ ๒-๓ กลอน หรือมากกว่านั้นเล็กน้อย ว่าร้องรับวนเวียนต่อกันไปตลอดทางทั้งขาไปและขากลับ เมื่อคิดขึ้นได้ใหม่ก็ค่อยเพิ่มกลอนมากขึ้น ทั้งนี้เพราะเพลงเรือแหลมโพธิ์มิได้เคร่งครัดในรูปแบบมากนัก เพลงที่กลอนขาดไปก็ยังสามารถใช้เล่นได้ ต่อมาจึงได้เตรียมตัวล่วงหน้าจากความงามของเรือพระที่ได้สร้างขึ้นในปีนั้น จากประวัติความเป็นมาของการชักพระ จากคนสวยในหมู่บ้าน จากเหตุการณ์ที่ซุบซิบติดอันดับรอบปี เหล่านี้ทำให้เกิดเป็นเพลงกลอนผูกขึ้น เพลงเหล่านี้มักกลอนดี ความหมายดี มีความยาวมาก บางเพลง เช่น เพลงชมนมพระ ของนาย พัน โสภิกุล ซึ่งเป็นเพลงเก่าเพลงหนึ่งมีความยาวถึง ๙๑ กลอน ทั้งนี้โดยนับจากจำนวนกลอนที่มีอยู่ตามที่ได้บันทึกไว้ เมื่อได้ศึกษารูปแบบและเรื่องราวแล้วเชื่อว่าเพลงนี้แต่เดิมยังจะต้องมีความยาวมากกว่านี้แน่นอน

พื้นที่เล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์
ยังไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเรือกระบวนชักพระทุกลำหรือทุกกระบวนจะต้องมีการเล่นเพลงเรือมาด้วย ภิญโญ จิตต์ธรรม กล่าวถึงประเพณีชักพระทั่วๆไปและได้กล่าวถึงการเล่นเพลงเรือไว้แต่ไม่ชัดเจนว่า “ในคืนวันขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ พวกเรือพายหรือเรือเพรียวเหล่านี้ก็จะออกซ้อมพาย ซ้อมความเร็ว เมื่อเหนื่อยมากแล้วบางทีก็จะพายช้าๆ พร้อมทั้งร้องเพลงเรือไปด้วย” ซึ่งนั้นก็หมายความว่าในการชักพระทางน้ำจะมีการร้องเพลงเรือเล่นด้วย แต่ก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นที่ใด อันนี้ก็ตรงกับที่นายเฮด แก้วกุลนิล อายุ ๖๐ ปี (พ.ศ.๒๕๒๘) ได้เล่าให้ฟังว่า “เมื่อก่อนพอขึ้น ๗-๘ ค่ำ เรือแข่งจากบางทิง บางหยี โคกขี้เหล็ก มาซ้อมแข่งที่คูเต่าทั้งนั้น ทั้งเพลงเรือเพลงบอก ยิ่งคืน ๑๕ ค่ำ คนเหมือนใบไม้”
ตามที่ได้ศึกษาข้อมูลพบว่าชุมชนของ ๓ อำเภอบริเวณริมทะเลสาบสงขลา คืออำเภอเมือง อำเภอหาดใหญ่ และอำเภอรัตภูมิ มีการเล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์กัน โดยเฉพาะตำบลคูเต่า ตำบลแม่ทอม ตำบลบางกล่ำ อำเภอหาดใหญ่พบว่าเล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์กันมากที่สุด ในจำนวนเพลงที่ใช้เป็นข้อมูล ๕๕ เพลง เป็นเพลงที่ได้จากแม่เพลงหรือนักแต่งเพลงที่อยู่ในพื้นที่นั้นถึง ๓๙ เพลง นอกนั้นได้จากอำเภอเมือง ๑ เพลง อำเภอรัตภูมิ ๕ เพลง ไม่ปรากฏพื้นที่ ๑๐ เพลง
อย่างไรก็ตาม จากการสอบปากคำผู้สูงอายุพอสรุปได้ว่า ชุมชนที่ชักพระมายังแหลมโพธิ์เท่าที่เคยมีมาคือ
เขตอำเภอหาดใหญ่ ได้แก่ บางโหนด หัวควาย ท่าแซ คลองแห บ้านหาร บางนก บางกล่ำ คูเต่า แม่ทอม ท่านางหอม ท่าเมรุ บางทิง บางหยี โคกขี้เหล็ก
เขตอำเภอรัตภูมิ ได้แก่ ควนโส ปากรอ ปากจ่า บางเหรียง ปากบางภูมี
เขตอำเภอเมือง ได้แก่ ทำนบ สทิงหม้อ เกาะยอ

ธรรมเนียมนิยมในการเล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์
ธรรมเนียมนิยมของการเล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์น่าสนใจไม่แพ้เพลงพื้นบ้านอื่นๆ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเสมือนภาพสะท้อนความเป็นพื้นบ้านในแง่มุมต่างๆ ที่เรายังไม่เคยสัมผัสหรือสัมผัสแล้วแต่ยังไม่ถึงแก่นแท้ของมัน ธรรมเนียมนิยมของการเล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์แยกกันกล่าวให้ชัดเจนเป็น ๕ ประการดังนี้
๑. วันเล่น เพลงเรือแหลมโพธิ์จะเล่นกันจริงๆ ก็เฉพาะในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ อันเป็นวันชักพระเพียงวันเดียวเท่านั้น หมดวันก็สิ้นสุดการเล่นในรอบปี ส่วนก่อนหน้าวันชักพระจะมีการซ้อมเล่นกันทั่วไป ตั้งแต่วันเดือน ๑๑ เริ่มแล้ว และค่อยๆมากขึ้น จนกระทั่งมากที่สุดในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ อันเป็นวันออกพรรษา
๒. สถานที่เล่น การเล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์นั้นมีจุดที่นัดพบกันจุดสำคัญคือแหลมโพธิ์ อันเป็นจุดหมายปลายทางที่เรือพระทุกลำมาหยุดพักเพื่อถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ที่มากับเรือพระแล้วประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ที่แหลมโพธิ์จึงเป็นสถานที่ที่เพลงเรือทุกลำและจากทุกแห่งในวันนั้นจะต้องขึ้นไปพบกันร้องเล่นเพลงเรือจนกระทั่งเสร็จพิธีพระ อัญเชิญเสด็จพระกลับวัด เรือพระบางวัดอาจไม่กลับวัดเลยทีเดียวก็จะพากันไปต่อที่หาดหอยซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งปากคลองอู่ตะเภา ทางทิศตะวันตกของแหลมโพธิ์ไม่ไกลกันนัก ที่หาดหอยจึงเป็นสถานที่เล่นเพลงเรืออีกแห่งหนึ่งที่รองลงไปจากแหลมโพธิ์ ที่ว่ารองลงไปก็เพราะหาดหอยไม่ใช่สถานที่เรือพระจะต้องนัดกันไปพบกันทุกลำเหมือนอย่างที่แหลมโพธิ์นั่นเอง แต่กล่าวกันว่านอกจากที่แหลมโพธิ์แล้ว ที่หาดหอยนี่แหละเล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์สนุกนัก
๓. รูปแบบกลอนเพลงเรือแหลมโพธิ์ เพลงเรือแหลมโพธิ์เป็นกลอน ๔ เหมือนกลอน ๔ โนราหรือกลอน ๔ หนังตะลุง ต่างกันบ้างตรงสัมผัสส่งสัมผัสรับเท่านั้น อย่างไรก็ตามหากจะเอากลอนเพลงเรือแหลมโพธิ์มาขับโนราหรือขับหนังตะลุงก็ย่อมทำได้ และทำนองเดียวกัน หากจะเอากลอน ๔ โนราหรือกลอน ๔ หนังตะลุงมาร้องเป็นเพลงเรือก็ย่อมทำได้อย่างแนบเนียนเช่นกัน
๔. ผู้เล่น ผู้เล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์คณะหนึ่งๆ อาจเล่นได้ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป โดยแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย คือ แม่เพลงกับลูกคู่
๔.๑. แม่เพลง คือผู้บอกกลอนมีหน้าที่ร้องกลอนนำให้ลูกคู่ร้องรับตาม แต่ก่อนนี้เคยใช้คำว่า “หัวเพลง” ปัจจุบันไม่ค่อยพบใช้ แม่เพลงส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ทั้งนี้เพราะผู้หญิงมีความละอายมากกว่าผู้ชายโดยธรรมชาติและโดยประเพณีที่ไม่ส่งเสริมให้ผู้หญิงแสดงออกในที่สาธารณะแบบนั้น หรืออีกประการหนึ่ง ผู้ชายได้มีโอกาสบวชเรียน ได้รู้ขนบประเพณี ภาษามากกว่าผู้หญิงก็ได้
๔.๒. ลูกคู่ คือผู้ร้องรับตามแม่เพลง คอยขัดจังหวะ คอยกระทุ้งกระแทกเสียงให้เพลงได้จังหวะพอเหมาะ ทำให้เกิดอารมณ์ร่วมกันทั้งแม่เพลง ลูกคู่และผู้ฟังอื่นๆ การที่ลูกคู่คอยทำให้เกิดอารมณ์ร่วมกันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้แม่เพลงบอกกลอนได้ลื่นไหลดี
๕. วิธีเล่น ธรรมเนียมนิยมที่เกี่ยวกับวิธีเล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์นี้มีหลายประการ ด้วยกันคือ
๕.๑. เพลงเรือแหลมโพธิ์ไม่เป็นเพลงปฏิพากย์ ไม่มีการเล่นโต้ตอบกันระหว่างคณะ นายดำ มณีภาค อายุ ๙๐ ปี (พ.ศ.๒๕๒๗) อดีตพ่อเพลงคนหนึ่งเล่าถึงเรื่องการเล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์ให้ฟังสรุปได้ว่า “การเล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์ไม่เจาะจงถึงใครคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะว่ากราดไปทั่วๆ จึงไม่มีการโต้ตอบลักษณะปากต่อปาก คำต่อคำ อย่างเรือพระลำหนึ่ง มีเรือยาวชักลากไป ๔-๕ ลำ เรือทั้ง ๔-๕ ลำ ต่างก็ว่าเพลงของตัวเองไป เพลงลำใครก็ลำนั้น แต่ก็สนุก เมื่อพบลำอื่นก็จะว่าแข่งเสียงกันไป ไม่โต้กัน”
๕.๒. เพลงเรือแหลมโพธิ์ที่เล่นในเรือ ซึ่งก็เป็นเรือยาวชักเรือพระนั่นเอง เรือยาวลำใหญ่ๆ จุฝีพายได้ถึง ๒๕ คน แต่ที่ไม่เป็นเรือยาวซึ่งมีฝีพายแค่ ๔-๕ คนก็มี การเล่นในเรือนี้เริ่มต้นตั้งแต่เริ่มชักลากเรือพระออกจากหน้าวัด จนถึงแหลมโพธิ์ เรือพระวัดใดอยู่ใกล้แหลมโพธิ์ก็มีเวลาอยู่ในเรือน้อยกว่าเรือพระที่วัดอยู่ไกล แล้วจะมีช่วงเวลาที่การเล่นเพลงจะขึ้นไปเล่นบนบกด้วย นั่นคือเมื่อชักพระมาถึงแหลมโพธิ์แล้ว ช่วงเวลาที่จะเสร็จถวายเพลพระและพิธีทางศาสนา เป็นช่วงที่เพลงเรือทุกคณะจะขึ้นมาเล่นสนุกกันบนแหลมโพธิ์ เป็นช่วงการเล่นเพลงที่สนุกไปอีกแบบหนึ่ง ไม่แพ้การเล่นในเรือ
๕.๓. ไม่มีเครื่องดนตรีใดๆ ประกอบการเล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์ ไม่มีฉิ่ง กรับ หรือเครื่องให้จังหวะ ไม่มีแม้แต่เสียงปรบมือ มีก็แต่เสียงพายที่จ้ำลงในน้ำพร้อมๆ กันเท่านั้น เพลงที่เล่าถึงประวัติ เพลงชมความงาม การพายก็มักจะพายจังหวะช้าๆ เพลงเสียดสีสังคม เพลงสนุกตลกขบขัน ก็จะลงจังหวะพายเร็วๆ ทำให้เกิดความสนุกสนานคึกคัก
๕.๔. การเริ่มเล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์ไม่ต้องไหว้ครู จะเริ่มต้นเพลงตรงไหนอย่างไรก็ได้ ในการเริ่มต้นเล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์ มีธรรมเนียมนิยมอย่างหนึ่งคือ การขึ้นต้นกลอนแรกของเพลงต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า “ขึ้นข้อ....” ในความว่า “ขึ้นข้อต่อกล่าว” ซึ่งพบมากที่สุด เช่น
ขึ้นข้อต่อกล่าวเรื่องราวลากพระ (เพลงกล่อมเรือลากพระ)
ขึ้นข้อต่อกล่าวเรื่องสาวสมัย (เพลงสาวสมัย)
ขึ้นข้อต่อกล่าวเรื่องเท้าแก้แลน (เพลงเท้าแก้แลน)
ฯลฯ

คุณค่าที่สะท้อนชีวิตทางสังคมและวัฒนธรรม
เพลงเรือแหลมโพธิ์ เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่สำคัญอย่างหนึ่งของจังหวัดสงขลา เพลงเรือแหลมโพธิ์เป็นเพลงพื้นบ้าน มีบทร้องเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ซึ่งสะท้อนชีวิตทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวบ้านไว้มากมาย โดยปรากฏให้เห็นเด่นชัดในบทร้องต่างๆ ว่าสังคมย่อมอยู่คู่วัฒนธรรมเสมอ ขณะเดียวกันสังคมจะเกิดขึ้นเองอย่างลอยๆ โดยปราศจากสังคมย่อมไม่ได้เช่นเดียวกัน


จากการศึกษาบทร้องเพลงเรือแหลมโพธิ์ ได้สะท้อนชีวิตทางสังคมและวัฒนธรรมได้ดังนี้
๑. ประเพณี เนื่องจากเพลงเรือแหลมโพธิ์เป็นเพลงที่ชาวบ้านใช้เล่นกันในวันชักพระโดยตรง ดังนั้นเนื้อหาของเพลงเกือบทั้งหมด จะกล่าวถึงประเพณีชักพระเพียงประเพณีเดียว ชาวบ้านในพื้นที่ที่มีการเล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์มีความผูกพันและมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประเพณีชักพระเป็นอย่างดี ในเพลงได้สะท้อนรายละเอียดถึงขนบนิยม ความเชื่อ และสารัตถะด้านต่างๆ เกี่ยวกับประเพณีชักพระไว้อย่างเป็นรูปธรรม
เพลงอนุรักษ์ของเก่า
เดือนสิบเอ็ดแรมต่ำหนึ่งหมันถึงมาแล้ว เรือพระตั้งแถวล้วนมาชุมนุม
ชาวพุทธสุดหวงทำพวงต้มแขวน จำกันได้แม่นวันออกพรรษา
เอานมพระมาสมโภชเพื่อโฆษณา ให้ชาวประชามานมัสการ
ได้มาชมศิลป์ต่างถิ่นมาประกวด ดูช่างสวยสดงดงามต่างกัน
นมเล็กนมใหญ่ดูไสวเฉิดฉัน รูปทรงองค์อันดูต่างกันเพริดพริ้ง
พระน้ำดูไปตามชายหลิง พระบกเพริศพริ้งบนหลิงแว็บวับ
ผมว่ามานานเดี๋ยวรำคาญกันหนัก ให้ทุกคนประจักษ์อนุรักษ์ของเก่า
ตัวอย่างเพลงดังกล่าว กล่าวถึงประเพณีชักพระ ซึ่งตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ขบวนเรือพระมาตั้งแถว มีกานำต้มแขวนตามประเพณี มีการสมโภชชนมพระและมีการประกวดเรือพระบกและพระน้ำ
๒. การเมืองการปกครอง ในบทร้องเพลงเรือแหลมโพธิ์มีเนื้อหาที่สะท้อนถึงการเมืองการปกครอง คือ ด้านกฎหมาย เห็นถึงความสำคัญของกฎหมายใหม่ในแง่เป็นเครื่องมือในการสร้างความสนุกสนาน ด้านพัฒนาบ้านเมือง ชี้ให้เห็นถึงการสนับสนุนการพัฒนาบ้านเมืองของรัฐบาล ด้านสิทธิสตรี สะท้อนบทบาทและสิทธิของสตรีในการพัฒนา และด้านการเลือกตั้ง สะท้อนความสนใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของชาวบ้าน ดังเช่น
เพลงยาวสากล
เรียนท่านทั้งหลายเจ้านายทั้งหมด ท่านผู้มียศปรากฏเสียนัก
เป็นที่พึงพักหลักประชาชน เฉพาะตำบลทางคนสัญจร
เห็นนานแสนนานทางผ่านไปมา หาดใหญ่ของข้าเห็นช้างไปชัง
คงจะล้าหลังฉันหวังพึ่งบุญ ถึงฤดูแล้วมีแต่อองฝุ่น
ท่านน่าการุณอองฝุ่นหมดไป ตอแรกปีไหนหมดไปสักที
ท่านพัฒนาฉันชมว่าดี ถนนมากมีเป็นที่สัญจร
ไม่ได้เดือดร้อนในดอนไปมา พ่อค้าแม่ขามากมายหนักหนา
หลับหูหลับตาฝ่าฝ่นอองดน นักเรียนเปื้อนสิ้นจากถิ่นมาไกล
เพลงเรือบทนี้มีเนื้อหาสะทอนถึงการเรียกร้องให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมือง หันมาช่วยกันพัฒนาท้องถิ่นในเรื่องถนนหนทางในพื้นที่บ้านแหลมโพธิ์ เพราะถนนมีฝุ่นมาก การสัญจรไปมาไม่สะดวก ทั้งพ่อค้าแม่ค่าและนักเรียนได้รับความเดือดร้อนในการสัญจรไปมา
๓. ด้านเศรษฐกิจ เพลงเรือแหลมโพธิ์จำนวนมากได้สะท้อนเนื้อหาเกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจของชาวบ้าน ตัวอย่างเพลง
เพลงของแพง
ขึ้นข้อต่อกล่าวเรื่องราวทั่วไป ตั้งรัฐบาลใหม่ทำไมของแพง
ทุกหนทุกแห่งแจ้งตามราคา พวกพ่อค้าเศรษฐีไปข้างหน้า
พวกเราชาวนาเวทนาเกินไป รัฐบาลคนเก่าเขาเอาใจใส่
ถนนหนทางที่ค้างเมื่อใด จัดทำให้ใหม่สัญจรไปมา
เพลงนี้ให้เห็นว่าชาวบ้านต้อขายที่ดิน เพราที่ดินมีราคาแพงและจะเลิกทำนา เพราะรายได้ต่ำ ราคาของสูงขึ้นเรื่อยๆ ชาวนายากลำบาก ขณะที่พ่อค้ารวยมากขึ้น เมื่อนักลงทุนมากว้านซื้อที่ดิน พวกชาวนาจึงคิดจะขาย ด้วยหวังว่าเศรษฐกิจของตัวเองจะดีขึ้นบ้าง
๔. ด้านศาสนา เพลงเรือแหลมโพธิ์ได้กล่าวถึงเรื่องราวของศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธเป็นจำนวนไม่น้อย เห็นถึงรูปการจิตสำนึกทางสังคม ว่ามีความผูกพัน และความเชื่อในศาสนาหลายประเด็น ยกตัวอย่างเพลงเรือแหลมโพธิ์ว่า
เพลงชักพระเกี้ยวสาว
มือข้าทั้งสองยกประคองขึ้นตั้ง ยกขึ้นเหนือเศียรรั้งตั้งความวันทา
ไหว้พระพุทธพระธรรมได้จำกายา ทุกค่ำเวลาวันทาชุลี
พอถึงวันดีที่จะออกพรรษา จัดแจงนาวาพร้อมเพรียงเรียงราย
ทั้งหญิงทั้งชายจัดไว้พร้อมเสร็จ ถึงวันเสด็จเสร็จแล้วจึงไป
ถึงคืนวันเพ็งเต็มเต่งพระทัย จัดแจงเป็ดไก่คดห่อไปกิน
พอถึงไก่ขันสนั่นเสียสิ้น ดับแดงเครื่องกินหมดสิ้นทุกสิ่ง
พอรุ่งหัวเช้าคดข้าวชนะ ฉันไม่ลดละหยิบมาใส่ขั้น
ส่วนข้าวกินนั้นปั้นไว้คนแห่ง ทั้งข้าวทั้งแกงแต่งไว้พร้อมเสร็จ
ถึงวันเสด็จเสร็จแล้วจึงไป พระสุริยาชักรถขึ้นมาไรไร
เนื้อหาเพลงดังกล่าวพูดถึงประเพณีชาวบ้านในวันออกพรรษา ซึ่งเป็นวันที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น ชาวบ้านจะจัดเตรียมสิ่งของเพื่อไปทำบุญที่วัดกันอย่างพร้อมเพรียง
๕. ด้านภาษาถิ่น ภาษาถิ่นใต้ เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันในภาคใต้ทั่วไป มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ในการเล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์ จะใช้ภาษาถิ่นใต้เป็นหลัก อีกทั้งเพลงเรือแหลมโพธิ์เกือบทั้งสิ้นมีภาษาท้องถิ่นใต้แฝงอยู่ ดังเช่น
เพลงพรหมสามหน้า
ยกข้อเทพนมไอ้นี่พรหมสามหน้า ถูกสาปอินทรามาเป็นก้อนเส้า
ยกมือประณมนั่นพรหมท่านท้าว เชิงกรานก้อนเส้าบ่าวสาวเรียกเตา
ตั้งทะให้คนดูไก้คู้หัวเข่า แยงฟืนเข้าในเตาไฟเราต้องลุก
ไม่กี่นาทีไก้นี้ต้องสุก แยงไฟให้ลุกจุกหว่างก้อนเส้า
จะเห็นว่าเพลงบทนี้มีคำว่า ก้อนเส้า หมายถึง ก้อนหินที่นำมาตั้งเป็นเตา มีลักษณะเชิงกราน คือ เตาไฟที่เคลื่อนที่ได้ สำหรับใช้ประกอบอาหาร ต้องใส่ไม้ฟืน คำว่า “แยงฟืนเข้าในเตาไฟ” หมายถึงวา ต้องใส่ไม้ฟืนเข้าไปในเตา และตั้งกระทะบนเตา ภาษาท้องถิ่นใต้ใช้คำว่า “ทะ” แทน กระทะ
๖. ด้านอนามัย ได้สะท้อนเนื้อหาทางด้านอนามัย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านโรคเอดส์ ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคเอดส์และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นโรคร้ายซึ่งเป็นภัยใหญ่หลวงต่อสังคม ด้วย และปัญหาเกี่ยวกับอนามัยด้านอื่นๆ ดัง เช่น ในปัจจุบันมีการรณรงค์เกี่ยวกับการคุมกำเนิดเพราะมีลูกมากจะยากจน อีกทั้งยังมีโรคเกิดขึ้นอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยการติดต่อหรือเกิดขึ้นจากการดื่มกินสารพิษ สารเคมีเข้าไปโดยไม่รู้ตัว เพลงเรือแหลมโพธิ์ จึงได้มีการแต่งเนื้อเพลงขึ้นเพื่อเตือนภัยในเรื่องดังกล่าว จะยกตัวอย่างเพลงเรือที่กล่าวถึง
เพลงกรัมม็อกโซน
ปีนี้ภาคใต้คนตายกันแย่ หมอจบปริญญาหมดท่าจะแก้
น้ำตาลคลองแหแช่กรัมม็อกโซน พิษสารเคมีรุ่นนี้โลดโผน
ฤทธิ์กรัมม็อกโซนโดนเอาหลายราย แพทย์ในมอ.ออ.นึกท้อใจหาย
เมื่อตอนวันบ่ายคนไข้ได้มา ผู้ป่วยทั้งหลายเข้าได้มาหา
เพลงนี้เนื้อหาเตือนภัยให้ระวังสารพิษจาก “กรัมม็อกโซน” คือ ยาฆ่าหญ้าคา ซึ่งชาวบ้านที่ทำน้ำตาลเมาขายผสมลงไปในน้ำตาลเมา แม้นายแพทย์ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ก็หมดทางแก้ไข เยียวยารักษา เพราะคนไข้เจอสารเคมีชนิดอย่างรุนแรง
๗. ด้านความเชื่อ ในบทร้องเพลงเรือแหลมโพธิ์ ได้สะท้อนความเชื่อหลายด้านไม่ว่าจะเป็น ความเชื่อทางไสยศาสตร์ เป็นความเชื่อที่ยอมรับและยึดมั่นถือมั่นในสิ่งหนึ่งสิ่งใด บางครั้งยึดมั่นในสิ่งที่เหนือธรรมชาติ มีการปฏิบัติกันอย่างกว้างขวางเป็นที่ยอมรับในสังคม และได้มีการสั่งสม สืบสานสู่ลูกหลาน ความเชื่อด้านเคราะห์กรรม ความเชื่อนี้มุ่งสอนให้คนทำดี ว่าสิ่งใดที่กระทำในชาตินี้ จะตอบสนองในชาติหน้า ความเชื่อการบนบานศาลกล่าว เป็นความเชื่อที่ทำให้เกิดขวัญและกำลังใจ ในการกระทำการอ่างใดอย่างหนึ่ง และความเชื่อด้านศาสนา เพราะศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ทำให้คนนับถือมีความรู้สึกว่ามีที่พึ่งทางจิตใจ มีใจเข้มแข็ง จะช่วยให้สำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา หรือประสบสิ่งที่ดีงาม
เพลงผิดศีลข้อห้า
ปีนี้ตัวข้าเทวาท่านสาป ศีลข้อห้ากล่าวกินเหล้าหมันบาป
เทวาท่านสาปเพราะบาปปางก่อน กินกรัมม็อกโซนเพราะโดนถูกหลอน
เนื้อหาสะท้อนความเชื่อ โดยให้มีการถือศีลห้าให้ได้ ศีลข้อห้ากล่าวว่าห้ามดื่มสุราและของมึนเมา ใครกินเข้าไปจะเป็นบาปและจะถูกลงโทษ
๘. ด้านค่านิยม ก็คือ วัฒนธรรมที่แสดงออก ในเพลงเรือแหลมโพธิ์ ได้กล่าวถึงเรื่องค่านิยมต่างๆ คือ การแต่งกาย ความแตกต่างของการแต่งกาย การใส่ฟันทอง เพราะในอดีตชาวภาคใต้นิยมการใส่ฟันทอง เพื่อให้เห็นถึงความสวยงามและมีเสน่ห์ ค่านิยมทรงผม
เพลงสาวสมัย
ขึ้นข้อต่อกล่าวเรื่องสาวสมัย แต่งตัววิไลสวมใส่ฟันทอง
ใส่ข้างละซี่ตรงกลางมีร่อง ใส่ไว้เป็นช่องสองข้างหน้าฟัน
โอ้แม่พุ่มพวงแต่งตัวอวดกัน หมุนเปลี่ยนทุกวันให้ทันสมัย
หน้าฟันกัลยาลงกาจับหลัก ชายใดเห็นทักหลงรักไม่หาย
เนื้อหาของเพลงกล่าวถึง ผู้หญิงนิยมสวมใส่ฟันทองกันมาก ถือเป็นค่านิยม อาจจะเป็นการบ่งบอกถึงฐานะทางเศรษฐกิจดี บางคนจะนิยมใส่ตรงร่องฟัน บางคนก็ใส่ตรงน้าฟันเต็มๆ
๙. ด้านจริยธรรม เพลงเรือแหลมโพธิ์มักจะเน้นสอนสตรีโดยตรง โดยมุ่งเน้นให้อยู่ในแนวประพฤติปฏิบัติที่ดี ให้คนมีคุณธรรมในจิตใจ จริยธรรมจึงจะเกิดตามมา ซึ่งจะส่งผลที่ดีต่อตัวเองและสังคม ดังเพลงลึกพระ
เพลงลึกพระ
รวยรวยรินรินหอมกลิ่นหัวหมอน ร้อยชั่งบังอรไปวอนพระให้ลึก
นึกมาน่าหัวอีหญิงชาติชั่วไม่กลัวตกนรก นัดแนะกันไว้แรกพี่ชายเป็นสก
ไม่กลัวตกนรกอีหญิงรากา นักแนะกันไว้ให้ชายบวชสักษา
พอสึกออกมาหันหน้าไปไกล ของเสียของหายชาได้มาใส่
เพลงสะท้อนทางด้านความไร้จริยธรรมของผู้หญิงที่ชอบใกล้ชิดพระสงฆ์ ชอบไปยั่วยวนให้พระลึก ซึ่งถือว่าเป็นการผิดศีลธรรม
๑๐. ด้านนันทนาการ ไม่ว่าจะด้านกีฬา ซึ่งในเพลงเรือแหลมโพธิ์ได้กล่าวถึงการเล่นว่าว เป็นการพักผ่อนหย่อนใจอีกวิธีหนึ่ง ด้านการบันเทิง เพราะเพลงเรือแหลมโพธิ์มุ่งเน้นความสนุกสนานเป็นหลัก ทำให้บางครั้งผู้เล่นเพลงจึงมีเจตนาใช้คำสองแง่สามง่าม ตามลักษณะทั่วไปของเพลงพื้นบ้านทั่วไป บางครั้งเข้าทำนองลามก แต่ก็เพื่อความสนุกสนานเป็นหลัก อีกเพลงจำนวนหนึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงการละเล่นบางอย่างของชาวใต้อีกด้วย
เพลงชักว่าว
พอเสร็จเก็บข้าวชักว่าวกันจัง ลมพัดวาวาวชักว่าวกันมั่ง
ชักแล่นป่าซังหอจังพ่อถี ผมอยู่จนเฒ่าชักว่าวทุกปี
พอลมพดรี่ผมนี้ชักจริง พอลมพัดเพรียวนึกเสียวเส้นเอ็น
ชักว่าวหวันเย็นเส้นเอ็นหมันตึง เฝ้าชักเฝ้าดึงตึงเอ็นลิ้นปี่
ขึ้นติดลมบนมือฝนพอดี เลิกชักเถิดพี่ตอนนี้ถึงคราว
กล่าวว่า แม้โดยเจตนาจะมีความหมายเชิงสองแง่สองง่าม ในเชิงหยาบโลนที่ใช้เล่นว่าว มาเปรียบการสำเร็จความใคร่ของผู้ชาย แต่ก็สะทอนชัดว่าการเล่นว่าวเป็นกีฬาพื้นบ้านอย่างหนึ่งที่นิยมเล่นในท้องถิ่น เพราะเป็นการเล่นเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ และราคาถูกเหมาะกับชาวบ้าน
๑๑. ด้านศิลปกรรม เพลงเรือแหลมโพธิ์ได้สะท้อนถึงทางด้านนี้ ทั้งในเรื่องการตกแต่งเรือพระ การวาดลวดลาย การปั้น แกะสลัก หล่อพระ
เพลงชมนมพระ
วาดรูปราหูอยู่ที่หุ้มกลอง เป็นหนกเป็นร่องเป็นช่องเป็นชั้น
ไว้ยอดสูงเยี่ยมเทียมกับกังหัน เป็นช่อเป็นชั้นเป็นหวั้นเป็นราว
ฝูงชนไม่ละชักกะพระโห่ฉาว หนุ่มหนุ่มบ่าวบ่าวสาวสาวแก่แก่
ศึกศึกซึกซึ้งอื้ออึงเซ็งแซ่ บ้างโห่บ้างแห่แลมาเป็นย่าน
เนื้อหาสะท้อนภาพลักษณะจิตรกรรมของชาวบ้านในท้องถิ่นในการตกแต่งเรือพระ ว่ามีการเขียนภาพเป็นราหูที่หุ้มกลอง โดยมีลวดลายเป็นกนก เป็นร่องเป็นชั้นต่างระดับกันไป
๑๒. ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพลงเรือแหลมโพธิ์สะท้อนด้านการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีไม่น้อย เช่น การลากพระก็นิยมทางบกใช้รถยนต์ลากกันมากขึ้น เพราะสะดวกกว่า
เพลงกลุ่มแม่บ้านชักพระ
ชักพระออกจากวัดนมัสการ ฝูงชนแม่บ้านทำงานร่วมกัน
วันออกพรรษาสนุกสุขสันต์ ไชโยโห่ลั่นพร้อมกันทั้งหมด
แต่ก่อนลากเรือเดี๋ยวนี้ลากรถ มาเปลี่ยนปรากฏลากรถจากวัด
ลำดับถัดถัดจัดกันเรียงราย ให้กลุ่มแม่บ้านสมจิตคิดหมาย
เห็นถึงวิวัฒนาการของการชักพระว่า แต่เดิมนิยมชักลากพระโดยใช้คนลาก แต่ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย โดยใช้รถยนต์ชักลากแทนคน ทำให้ประเพณีดั้งเดิมหลายส่วนสูญหายไป เพราะความเปลี่ยนแปลงไปของเทคโนโลยีนั่นเอง
๑๓. ด้านอื่นๆ ได้แก่ สภาพภูมิศาสตร์และสภาพทั่วไปของท้องถิ่น มลภาวะและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
เพลงสิ่งแวดล้อม
ขึ้นข้อต่อกล่าวเรื่องสิ่งแวดล้อม ช่วยกันถนอมพร้อมใจรักษา
ทะเลหาดทรายต้นไม้สัตว์ป่า ภูเขาท้องฟ้าต้นน้ำลำธาร
แนะนำพวกพ้องพี่น้องลูกหลาน รักษาไว้ได้การลูกหลานสบาย
สิ่งแวดล้อมเป็นพิษชีวิตวอดวาย ใครคิดทำลายเราอย่าได้ยอม
เพลงเรือดังกล่าวเนื้อหาสะท้อนถึงภาพและสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เน้นเรื่องราวสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ให้ทุกคนตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม ควรหาทางป้องกัน และร่วมมือกันแก้ไขเพื่อรักษาสภาพดังกล่าวให้ดีสืบไป
เพลงเรือแหลมโพธิ์ แม้จะเป็นเพลงที่นำมาเล่นกันในท้องถิ่นที่ไม่กว้างขวางมากนัก แต่จะพบว่าเพลงเรือแหลมโพธิ์ทุกยุคทุกสมัยมีสาระแฝงอยู่ในความสนุกสนานมากมาย ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น

การถ่ายทอดองค์ความรู้ของเพลงเรือแหลมโพธิ์
เพลงเรือแหลมโพธิ์ เป็นเพลงพื้นบ้านภาคใต้ ซึ่งชาวบ้านนิยมเล่นในงานประเพณีชักพระ ซึ่ง ๑ ปีมีแค่ครั้งเดียวก็ว่าได้ กระบวนการถ่ายทอดความรู้เพื่อไม่ให้สูญหาย ชาวบ้านอาศัย แบบครูพักลักจำ ใช้ความสามารถทางเชิงกลอนบ้าง ความรักในทางนี้ แล้วทำการฝึกฝน และออกงานประจำทุกปี จนบางคนจากการเป็นลูกคู่ เลื่อนขั้นมาเป็นแม่เพลงบ้าง อาจจะไม่ได้แต่งเพลงก็ได้ มีการนำเอาเพลงเก่าๆ ที่นักแต่งเพลงได้แต่งมาจดจำแล้วนำมาร้องเล่นกันก็ได้
เพลงเรือแหลมโพธิ์ไม่ได้มุ้งเน้นเพียงแค่ความสนุกสานเพียงด้านเดียว แต่เพลงเรือแหลมโพธิ์ยังสอดแทรกเนื้อหาสาระที่สร้างสรรค์ ให้แง่คิดเพื่อชี้ชวนให้เกิดการพัฒนาภาษาที่ใช้ในบทเพลงบางครั้งใช้ภาษาถิ่นใต้ผสมกับภาษาราชการ วิธีถ่ายทอดบทร้องสู่ผู้ฟังนั้นจะถ่ายทอดโดยวิธีมุขปาฐะ โดยมุ้งเน้นประเด็นในเรื่องวิถีการดำเนินชีวิตของชาวบ้านในแง่มุมต่างๆ มาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ โดยการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านที่จากการสั่งสมประสบการณ์มาเป็นเวลาช้านานมาถ่ายทอดให้คนรุ่นใหม่ได้รับทราบประเด็นปัญหาจากบทกลอนที่ชาวบ้านแต่งขึ้น

การประยุกต์ใช้ในสังคมปัจจุบัน
เพลงเรือแหลมโพธิ์ ได้สะท้อนให้เห็นสภาพปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น ชาวบ้านจึงใช้เพลงเรือแหลมโพธิ์เป็นสื่อในการถ่ายทอดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ที่รับผิดชอบได้รับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นภายในท้องถิ่น ถือได้ว่าเป็นแนวทางพื้นฐานในการทำความเข้าใจในสังคมแถบนี้ เพื่อนำไปพัฒนา แก้ปัญหาตรงจุด และมีประสิทธิภาพกับท้องถิ่น เพลงเรือแหลมโพธิ์จึงเป็นสื่อสำคัญที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาชาวบ้านให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน ดังที่ว่า สื่อชาวบ้านเป็นเครื่องมือทางสังคม ที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านเองและเป็นตัวจักรสำคัญหนึ่งในการสร้างดุลยภาพให้ชุมชนพื้นบ้านภาคใต้ในอดีต มีลักษณะเป็นตัวของตัวเอง มีความภาคภูมิในเอกลักษณ์ของตน และเห็นถึงคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ของพวกตน

แนวทางอนุรักษ์และพัฒนาเพลงเรือแหลมโพธิ์
เพลงเรือแหลมโพธิ์ เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของประเพณีชักพระทางน้ำ ซึ่งประเพณีนี่จะเกิดขึ้นในทางภาคใต้ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ทำให้การเล่นเพลงเรือแหลมโพธิ์อยู่คู่กับประเพณีชักพระ เพลงเรือแหลมโพธิ์ จึงเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างแท้จริง ที่เกิดจากการสั่งสมกันมาเป็นเวลานาน ให้คุณค่าในด้านความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และเป็นเครื่องมือทางสังคมด้วย เป็นสิ่งที่ถ่ายทอดให้ชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของเพลงเรือแหลมโพธิ์ ควรจะมีการอนุรักษ์ พัฒนา และส่งเสริมให้เพลงเรือคงอยู่กับท้องถิ่นนี้ตลอดไป โดยการอนุรักษ์ พัฒนา และส่งเสริมอย่างถูกวิธี เพื่อให้มรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าแก่ท้องถิ่นอยู่ตลอดไป โดยมีวิธีการอนุรักษ์ พัฒนา และส่งเสริม ดังนี้
๑. ปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเยาวชนได้ช่วยกันอนุรักษ์ เผยแพร่เพลงเรือแหลมโพธิ์ให้เป็นเพลงพื้นบ้านที่ยอมรับอย่างกว้างขวางต่อไป เช่น จัดโครงการแข่งขันร้องเพลงเรือแหลมโพธิ์ เป็นต้น
๒. ส่งเสริมให้สถานศึกษาในละแวกนั้นมีหลักสูตรเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น เพลงเรือแหลมโพธิ์ เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งในชุมชน
๓. ฟื้นฟูเพลงเรือแหลมโพธิ์ โดยต้องเอาเพลงเรือแหลมโพธิ์มาเชื่อมโยงให้ออกมาเป็นมิติของภูมินิเวศ หรือว่าภูมิการให้มองให้เห็นถึงว่าเป็นสากลให้ได้ เพราะจะทำให้มองเห็นสะท้อนภาพชีวิต สะท้อนภูมิปัญญา ผูกโยงให้เห็นเป็นภาพ เพื่อเป็นการยกระดับเพลงเรือแหลมโพธิ์ให้เป็น นิยมและแนวทางปฏิบัติในชุมชนนั้นและชุมชนอื่นอีกด้วย
๔. จัดชุมชนแหลมโพธิ์เป็นศูนย์กลางของเพลงเรือแหลมโพธิ์ ทั้งในด้านให้ความรู้ แนวทาง อย่างเช่น โรงเรียนชุมชน โดยที่ชาวบ้านจะเป็นผู้ให้ความรู้ หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญเอง
เพลงเรือแหลมโพธิ์ เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้าน และจัดเป็นมิติทางวัฒนธรรมที่มีบทบาทในการช่วยพัฒนาชุมชนมานานในอดีต ถึงแม้ว่าจะถูกละเลยไปบ้างในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา แต่ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าสังคมจะอยู่รอดได้อย่างยั่งยืนนั้น การอนุรักษ์รักษาภูมิปัญญาพื้นบ้านจะมีส่วนช่วยอย่างสำคัญ การนำภูมิปัญญาพื้นบ้านมาใช้ในการพัฒนาชุมชนพึ่งตนเอง จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการล่มสลายของครอบครัว ชุมชนโดยส่วนรวมในที่สุด และยังช่วยให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้




เอกสารอ้างอิง
สนิท บุญฤทธิ์, เพลงเรือแหลมโพธิ์ จังหวัดสงขลา, พิมพ์ครั้งที่ ๒, สงขลา : ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมวิทยาลัยครูสงขลา, ๒๕๓๒.
มณฑิรา ศิรินทร์นนท์, เพลงเรือแหลมโพธิ์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา, ปริญญาศิลปศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้, ๒๕๓๘.
ณรงค์ เล็งประชา, พื้นฐานวัฒนธรรมไทย, พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์, ๒๕๓๒.
ปราณี วงศ์เทศ, พื้นบ้านพื้นเมือง, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เจ้าพระยา, ๒๕๒๕.

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551

ประกาศการประชุมของก.ล.ม. (แก็งลูกหมู)

วันนี้ไปประชุมที่วัง...ทองหลาง ร่วมประชุมในกลุ่มกัน เพื่อเลือกสถานที่ที่จะศึกษาข้อมูล เราเสนอสถานที่ไป 2 ที่ คือ บ้านคูบัว ราชบุรี และ หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไท-ยวน สระบุรี แล้วมีพี่อ้อยเสนอ เกาะเกร็ด แอมก็เสนอปากช่อง นั่งๆๆนึก.....เอ้ อยากไปเที่ยวไหนหน้อ
เฮ้ย ! ต้องไปทำงาน ไม่ใช่ไปเที่ยว (ดีนะที่ได้สติ)
สรุปมติประชุมเราได้ไปตามที่ต้องการอะ คือ สระบุรีอะ ดีใจนิดๆๆ เพราะป็นสถานที่ที่หมายปองไว้แล้วด้วยอะ เราเล็งเห็นถึงเอกลักษณ์ที่นี่ก็คือ มีการทำแบบเกือบครบวงจร มีนักอนุรักษ์เป็ตัวต้นโครงการก่อตั้งด้วย และอีกหลายอย่างเหตุผล นานา
พอได้สถานที่แล้วเรากับสมาชิกกลุ่มก็มานั่งคิดถึง scope ว่า ในชุมชนมีอะไรที่เราจะศึกษาได้บ้าง แนวทางอย่างไร แล้วเราและสมาชิกก็คุยไปด้วย เล่นไปด้วยนิดๆๆ เข้าสาระบ้าง คลายเครียดบ้างอะนะ

ทำกันอยู่นาน ตกเย็นก็เริ่มแยกย้ายกลับบ้าน
แต่ไม่เชิงกลับซะทีเดียวหรอก เรา เจิน พีอ้อย แว็บๆๆไปเดิน Majorกันต่อ และแล้วเจ้ากรรม ฝนตกซะงั้น เลยเซ็งกันตามไป

พอกลับมาถึงบ้านด้วยความเปียกปอนอะ มานั่งดูตาราง เจ้ากรรม
ตายละ!เรา งานชนกันมั่วตัว เอางัยดี ตกลงกับเพื่อนๆว่าจะลงศึกษาข้อูล วันที่ 19-21 กันยายน นี้ แล้วเราก้ต้องไป Road Show วันที่ 17-30 กันยายน เวงกำชัดๆๆเอางัยดี
เลยจัดการโทรไปคุยขอคิวงานเขาว่าเราจะถอนตัวหรือยังไงได้บ้าง อ้อนว้อนอย่างหนัก

และแล้ว พี่ก็ยอม แต่ยอมแบบกลางๆๆนะ คือให้เราได้ แต่ต้องทำอย่างไรก็ได้นะให้มาทำงานให้ได้ วันที่ 20 ที่อุบลราชธานี เอ้า!เวงกำ แต่อย่างไรก็ยอมอะ ยังดีที่ยอม

งานหนักล่ะเรา ยกหูโทรศัพท์ว่าจะขอเลื่อนมาเดินทางไปลงทริปสระบุรี เลื่อนขึ้นมาอีกวันหนึ่ง โทรถามเพื่อนสมาชิก และแล้วทุกคนน่ารักมากอะ ยอมรับได้ไม่มีปัญหาอะ รอดตัวไปเรา
พอมานั่งดูอีกที ทางกันตนาโทรมา งานเข้าอีกว่า ถ่ายละครวันที่ 29-30 เอ้า จะเอายังไงกับเรานะ เราต้องนั่งรถกลับมากอนอีกแล้วเหรอ อะไรมันจะมีอุปสรรคขนาดนั้น กลับมาเข้ากองละครต่อเหรอนี้
เส็จจากนี้เตียมขึ้นเขียงสอบอีก สอบสองวิชาวันเดียวเลยอะ
งามไส้แล้วเรา เออ!เอาเถอะ ต้องสู้อะนะ ไม่มีทางหนีแล้วต้องสู้ถึงจะรอด

กังวลๆๆๆๆว่าเดือหน้างานจะตีกันอย่างนี้หรือเปล่าอีกมั๊ยนะ

แล้วแต่ละคนก็ไม่ยอมปล่อยคิวง่ายๆๆด้วยอะดิ ขนาดบอกไม่รับงนก็ยัดเยียดกันเหลือเกิน เฮ้ย!


เอาเถอะ ไปละ ไปนอนดีกว่า ง่วงแล้ว เดี๋ยวพรุ่งนี้จะตื่นมาทำ งานวิชาภูมิปัญญาล่ะ ต้องทำให้เสร็จก่อนที่ต้องมีงานติดพันอีก

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551

นาฏศิลป์บาหลี Tari Bali

Bali dance



In Hinduism,dance is an accompaniment to the perpetual dissolving and reforming of the world. The creative and reproductive balance is often personified as Shiva's wife, Durga, sometimes called Uma, Parvati, or Kali. This has significance in Balinese Hinduism, since the common figure of Rangda is similar in many ways to Durga. In Bali there are various categories of dance (i.e. barong, legong, kecak) including epic performances such as the omnipresent Mahabharataa and Ramayana. Bali dancers learn the craft as children from their mothers as young as age 4 (see a nine years old dancer on the right). In Balinese dance the movement is closely associated with the rhythms produced by the gamelann, a musical ensemble specific to Java, Bali and Malaya. Multiple levels of articulations in the face, eyes, hands, arms, hips, and feet are coordinated to reflect layers of percussive sounds. The number of codified hand positions and gestures, the mudras, is higher in India than in Java or Bali. It has been speculated that they have been forgotten as the dance was transmitted from India to Java. Hand positions and gestures are nonetheless as important in Javanese and Balinese dance as in India. Whether in India, Indonesia or Cambodia, hands have a typically ornamental role and emphasize the dance's delicate intricacy.


Dance and Drama
The lifestyles of Balinese people is expressed in their dance. Not only do we learn about the Balinese religion from their dance creations but also we can come to understand the flow of cultural events and activities that belong to everyday life. We can discover Balinese attitudes, how they look at nature, and how they regard their fauna and flora.The very essence of the Balinese culture is dance and drama, which is performed during temple festivals and in ceremonies. The dances performed in hotels is a small fraction of what Balinese dance has to offer.Balinese dance goes as far back as Balinese written history with much of the heritage originating from Java. Ironically, as a result of the Islamisation of Java, the Javanese culture has disappeared but has still survived in Bali and has become part of classical Balinese culture.Balinese dance cannot be separated from religion. Even the dances for the tourists are preceded by many dancers praying at their family shrine for taksu (inspiration) from the gods.Dance fulfils a number of specific functions: It may be a channel for visiting gods or demons, the dancers acting as a sort of living repository. It may be as a welcome for visiting gods. It may be entertainment for visiting gods. The typical posture of Balinese dance has the legs half-bent, the torso shifted to one side with the elbow raised and lowered in a gesture that displays suppleness of the hands and fingers. The torso is shifted in symmetry with the arms. If the arms are to the right, the shifting is to the left and vice-versa.The RamayanaThe story of the Ramayana greatly inspires the Balinese. Many of their dances are based on this great story which is often depicted in a ballet.The Balinese version differs from the Indian Version. It is told that Rama, as the first son in a family, was the heir to the Ayodya kingdom but the king's second wife, through her treachery forced the king to crown her own son as the King of Ayodya and asked him to send Rama and his wife into exile.Because he respected his father, Rama went with his wife called Sita and his beloved younger brother, Laksmana into a forest called Dandaka. Usually the first act of the ballet depicts Rama and entourage in the heart of the Dandaka forest.Rahwana, the evil King of Alengka, enchanted by the beauty of Sita, wanted to have her as his concubine. He sent one of his knights, Marica, to temp Sita by transforming himself into a golden deer. Sita, captivated by her curiosity, asked her husband to catch the golden deer.The next act explains how Rama succeeds in hunting the golden deer but as his arrow struck the golden deer it transformed back into Marica. Meanwhile Sita heard a distant cry for help. Laksmana, who had been asked by his brother to look after his sister-in-law, tried to explain to her that the cry sounds very suspicious. But nevertheless, Sita was convinced that someone was in need of help. So she sent Laksmana to look for this person and to help whoever it is. In his desperate attempt, Laksmana asked Sita, no matter what would happen, to stay inside the guarding circle that he created.Rahwana, knowing that Sita was protected by the circle transforms himself into an old priest. He approaches Sita and asks her for a drink. Sita, without hesitation, extends her hands beyond the circle to hand him the water. Rahwana takes the advantage, snatches her hand and takes her to his palace in Alengka.On the way, Rahwana encounters a mighty eagle Jatayu. By every means possible, Jatayu tries to rescue Sita from the evil king but fails and is killed by Rahwana.Rama and Laksmana find the dying Jatayu who tells them the whole story of what had happened to Sita.In his attempt to release his wife, Rama seeks the help from Hanoman and his monkey soldiers. Hanoman finds Sita in the palace's garden. She had been asked by Rahwana to marry him but she would rather die. Hanoman convinces Sita that he is Rama's messenger and talks of a plan.Rahwana catches Hanoman and burns his tail but in so doing, set fire to the palace's' gardens. The pyrotechnics can be very impressive.In the last act, Rama and his troops are depicted attacking Rakhwana's palace. Finally Rama manages to kill Rahwana and therefore takes his wife back to his country.The abridged version ends here but if you see paintings in Kamasan style based on the Ramayana story, you would notice that in the last of serialised paintings, Sita had to prove she was still pure, and had not been tainted by Rahwana, by plunging herself into a fire. Because of her faith in her husband, God saved her from the fire and she lived happily ever after with Rama.The Indian version reveals a very different ending with Sita saved by Mother Earth, never returning to her husband.The Welcome Dance - Tari PanyembramaThe Panyembrama is probably the most popular Balinese social dance. In keeping with its meaning in the Balinese Language, Panymebrama is frequently staged to welcome guests of honour who are making a visit to this islands of the Gods.Four or eight young girls bearing a bokor, a heavily engraved bowl made from silver or aluminium, laden with flowers, dance expressively to the accompaniment of vibrant gamelan music.During the dance, the flowers are scattered over the guest or audience as an expression of welcome. The Panymebrama has taken many of its movements from temple dances, such as the Rejang Dance, Pendet and Gabor, which are considered sacred and performed exclusively for God. There is an analogy between the secular Panymebrama and the religious temple dances, as all these dances are welcoming dances, the difference being in the place in which they are stage.The Tari Panymebrama comes under the Balinese classification of Legong (individual dances), because it has no connection with other dances, has no story and was specifically created for welcoming and entertainment purposes.The hospitality and friendliness conveyed through the smiles of the Panymebrama girls, charms the audience and so is very fitting as an opening for a show, etc.The Yudapati DanceYudapati is a dance which depicts a male character but is performed by female dancers. The word Yudapati is derived from Yuda which means war and Pati which means death. The dance represents the kamikaze warrior in defending the truth. The dance was created in 1987. It is based on the Baris dance.The dancer wears typical male attire, headcloth, shirt, carved leather belt and other jewellery. The reason for a male being performed by a female is that the choreographer wishes to reveal all the subtle gestures and movements in the dance by using the flexibility of a woman's body.Male dance performed by females is called Bebancihan. A number of other dances have been created in the s style, such as Margapati, Trunajaya, Prawireng Puti, Wiranata and Danur Dara. They require masculine interpretation and expression which is quite hard for female dancers. Yudapati dance was originally performed for religious purposes but nowadays is performed regularly as a tourist attraction in some restaurants.The Ghopala DanceThis dance provides the audience with an interesting insight into the lives of people who live in a simple and pure manner in an environment of blissful tranquillity. This dance originated in 1984 and usually performed by five boy dancers. The characters of the Ghopala dance are especially funny and will draw laughter from the audience.The Ghopala theme depicts the world of children herdsmen who gleefully meet and play along the boundaries of rice fields while tending their cows. Their lives are filled with happiness as they dance and play in a way which highlights their individual characters. They never tire of their duties as herdsmen, faithfully defending the lives of their cattle. Thus the audience are transported to a distant time when people lived in peace and contentment, an age which had not yet become influenced by the bustle of business which now constantly steals our time.The Semarayana DanceAs we know, there exists many art forms such as music, painting, poetry, drama, sculpture, etc. and, of course, dancing is yet another and is a popular form of expression. Artists will take a certain aspect of a medium, build on it to form another. This is the case of the Semarayana dance developed in 1994 as a subject for a thesis submitted by Ms Ni Nyoman Sri Armita to the Indonesian Arts Academy of Denpasar for her graduation.The main character is Dewi Chandra Kirana, a princess from the kingdom of Daha who disguised herself as a male youth so she could venture out and seek her beloved who had disappeared without a trace.With shoulder length hair, commonly used centuries ago throughout Java and Bali, the princess was unrecognisable as a female. The symbol of manhood which fooled people she met on the road, was the use of the Balinese male headgear called the Destar. It is made from material that wraps around the head and has an artistic formation of bunched material at the front.Balinese males still use the destar when attending ceremonies. The feature of the destar is the decorative use of gold lines.Dewi meets her beloved but due to her disguise and the fact that he is partly obscured when they meet, a fight develops. In the ensuing melee, the princess's destar is knocked from her head and her sweetheart, Raden Inu Kertapati, recognises her and rushes to her side to embrace her.And, of course, they lived happily ever after.The Barong DanceThe are several versions of the Barong Dance, as Bali has an abundance of myths and legends. There is Barong Ket, Barong Asu (Dog Barong), Barong Macan (Tiger Barong), Barong Bangkal (Pig Barong), Barong Gajah (Elephant Barong) and others.One of the well known stories on which the Barong Dance is based, is the Kunti Seraya. The plot is very intriguing, showing the effect of the Gods intervention upon the people through supernatural powers.It is told that Dewi Kunti, from the royal family of Hastinapura, was very ill. As a devotee of the Goddess Durga, she seeks help, however, the Goddess tells her that the price of health is her own son, Sahadewa. It seems that the Goddess fancied Sahadewa's young and luscious flesh for her dinner.Dewi Kunta recovers from her illness and it is time to pay the price. She regrets her decision to pay the price but a promise is a promise. One of the Goddess's followers put her into a trance and enters her body. She becomes a terrifying creature and unconsciously beats Sahadewa mercilessly. She then takes him to an unpenetratable jungle and ties him to a tree. Later Sahadewa is given immortality by God and she overcomes the wrath of the Goddess and she is able to release her son.The Sanghyang Jaran DanceThe unique feature of the Sanghyang Jaran dance is the courage of the dancers who in a state of Kesurupan or trance, calmly step and trample on red hot coals just as if they were walking in cold water.This dance is believed to have the power to invite the gods or sacred spirits to enter the body of the dancers and put them in a state of trance. It dates back to the ancient Pre-Hindu culture, a time when the Balinese people strongly believed that a dance could eliminate sickness and disease. The is dance is usually performed in the fifth or sixth month of the Balinese traditional calendar as it is believe that during these particular months, the Balinese are vulnerable to all kinds of illnesses.The War Dance - Gebug EndeThe Gebug Ende is a combination of dance and trial of prowess. It is usually performed by two to sixty male dancers who dance and fight on stage in pairs. Each dancer/fighter carries a one and a half metre long rattan stick as as a weapon and a shield called an ende. During the performance the two men try to beat one another with the stick while using the ende to protect themselves. The dance is called Gebug Ende as it literally means beating the ende or shield. One cannot afford to make mistakes in this dance as otherwise injury results.The Gebug Ende is quite unique as it has certain rules that have to be followed by the participants. Led by a jury, this dance starts with two dancers, while the rest sit in a circle, cracking jokes and singing, while waiting their turn. The jury decide which of the two contestants loses the game and has to leave the stage. Then they will call the next men to the stage. This continues until all have had a turn. Sometimes the fight becomes very fierce and the dancers get thrown of the stage from the blows of the rattan stick. Bruises and wounds are common in this ritual.Legong Trunajaya - The dance of love and emotionsThe Trunajaya dance describes the emotions of a young man through love and passion. The dance movements reflect the theme of courtship and love.Truna meaning 'single' and jaya meaning 'to win' immediately gives an understanding of the dance. Ironically, the dancer are young women who take on the role of young men. The women wear a 'destar' normally worn by men and an unusual loin-cloth called a 'kancut'. The Trunajaya is normally danced by a single female but sometimes two, dancing together in synchronous movements and to the mesmorotic sounds of the 'Gong Kebyar', a fast, rhythmic beat which goes in harmony to the dance. The dance was created by Wayan Wandres, from Singaraja, Northern Bali.

วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ไกรสิทธิ์ วรรณกรรมประโลมโลก

ไกรสิทธิ์





วรรณกรรมท้องถิ่นจังหวัดชุมพร เรื่องไกรสิทธิ์ ซึ่งปรากฏอยู่ในสมุดข่อยหรือที่ชาวภาคใต้เรียกว่า “หนังสือบุด” ไกรสิทธิ์เป็นวรรณกรรมประโลมโลก ประเภทจักรๆวงศ์ๆ แต่งโดยกวีท้องถิ่น ถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมชาวบ้านที่นิยมอ่าน (ภาษาถิ่นใต้เรียกว่า สวด) กันเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน ให้ความรู้ทางด้านภาษาและวัฒนธรรมแต่ละสมัยที่เกิดวรรณกรรม และจะใช้สวดกันเฉพาะวันมงคลเท่านั้น กล่าวได้ว่า เมื่อมีงานมงคลก็มีการเตรียมงานก่อนถึงวันงานที่เรียกกันว่า “วันสุกดิบ” ซึ่งสิ่งสำคัญในวันสุกดิบคือ การสร้าง “โรงมัด” เพื่อใช้ประกอบอาหารสำหรับถวายพระและเลี้ยงแขกที่มาในงาน การตระเตรียมอาหารนั้นจะทำกันตั้งแต่ตอนหัวค่ำเรื่อยไปจนถึงสว่างของวันงาน ผู้ที่มาช่วยงานตอนกลางคืนในวันสุกดิบนั้น นอกจากจะเป็นชาวบ้านที่มาอาสาเป็นแม่ครัวแล้วนั้น ก็จะมีผู้มาช่วยงานในด้านอื่นๆ ที่ต้องตระเตรียมไว้ใช้ในวันงาน และอยู่เป็นเพื่อนบรรดาแม่ครัวทั้งหลาย และเพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินในการทำงานและจะได้ไม่ง่วงนอน จึงมีการเล่านิทานที่สนุกสนานแบบนิทานประโลมโลก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ ที่นิยมฟังกันแพร่หลาย ขณะเดียวกันก็จะมีบทแทรกคติสอนใจให้ผู้ฟังด้วย โดยใช้ตัวละครเป็นสื่อ เพราะเหตุนี้ทำให้วรรณกรรมประโลมโลกจึงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายมานานในท้องถิ่นจังหวัดชุมพรมาจนถึงปัจจุบันนี้
วรรณกรรมประเภทนิทานประโลมโลกของภาคใต้นั้น ที่ใช้ “สวด” (ท่องแบบทำนองแบบท่องจำ) โดยทั่วๆ ไป จะบอกจุดมุ่งหมายของเรื่องเอาไว้ว่า เพื่อให้คนอ่านหรือฟังในยามว่าง เรียกอีกอย่างว่า “หนังสือสวด” และจะมีผู้สวด (อ่าน) เพียงผู้เดียว คนอื่นจะเป็นผู้ฟัง ผู้สวดจะต้องมีความชำนาญในการสวด และสวดได้อย่างไพเราะ สนุกสนาน แต่ละหมู่บ้านจะมีอาชีพรับจ้างสวด ค่าจ้างแล้วแต่ตกลงกน แต่ส่วนมากมักจะช่วยเหลือกันและตอบแทนด้วยการเลี้ยงอาหาร หากใครสวดได้ไพเราะก็จะมีคนจ้างแทบทุกคืน เรื่องที่ใช้สวดก็เป็นเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ

หนังสือบุดหรือสมุดข่อย
คำว่า “บุด”ในภาษาถิ่นใต้ น่าจะมาจากคำว่า “สมุด” ในภาษาภาคกลาง โดยการตัดเสียงพยางค์หน้าตามลักษณะของการใช้คำในภาษาถิ่นใต้ คือคำว่า “สมุด” เป็น “มุด” แล้วกลายมาเป็น “บุด” ซึ่งหมายถึง สมุดที่ทำด้วยกระดาษข่อยหรือเถาต้นกฤษณา พับไปมาเป็นขั้นๆ กลับไปกลับมาในสมัยโบราณ เอกสารสำคญต่างๆ จะเขียนลงในสมุดข่อย หรือหนังสือบุดแทบเกือบทั้งหมด โดยสมุดข่อยหรือหนังสือบุดจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามชนิดของวัสดุที่ใช้ทำกระดาษ สมุดข่อยเล่มหนึ่งๆ ใช้บันทึกข้อความได้ทั้งสองหน้า เรียกหน้าแรกว่า “หน้าต้น” และเรียกหน้าหลังว่า “หน้าปลาย” ขนาดของสมุดที่ได้รับมาตรฐานมีอยู่หลายขนาด การเขียนบันทึกลงสมุดข่อยนั้น เนื่องจากแต่เดิมทางภาคใต้บันทึกด้วยอักษรขอม และเรื่องที่ใช้บันทึกส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา หรือตำรายา อีกทั้งผู้บันทึกส่วนใหญ่จะเป็นพระภิกษุ สมุดข่อยนอกจากจะใช้บันทึกเรื่องราวดังกล่าวแล้ว ยังใช้บันทึกใบประกาศ แจ้งความ และเอกสารสำคัญๆ ของทางราชการอีกด้วย

ประวัติความเป็นมาของเรื่องไกรสิทธิ์
ไกรสิทธิ์ เป็นวรณกรรมจากหนังสือบุด ซึ่งถือว่าเป็นวรรณกรรมประโลมโลกของภาคใต้ จังหวัดชุมพร วรรณกรรมเรื่องไกรสิทธิ์ ฉบับที่นำมาวิเคราะห์ เป็นหนงสือบุดขาว เขียนด้วยหมึกสีดำ ขนาดของหนังสือมีความกว้าง ๑๑.๕ ซ.ม. ยาว ๓๕ ซ.ม. มีทั้งหมด ๔ เล่ม นับเป็น ๕ หัว (๕ ตอน) รวม ๖๗๐ หน้า แต่ละหน้ามี ๖ บรรทัด การเรียกชื่อแต่ละตอนเรียกว่า “มาดหัว” เนื้อเรื่องแต่ละตอนจะสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันไปเรื่อยๆ ตอนท้ายของเรื่องได้เขียนบอก วัน/เดือน/ปี ที่เขียนไว้

เนื้อเรื่องย่อ ไกรสิทธิ์
ณ เมืองมุขพิมานมีท้าวโกศานเป็นผู้ปกครอง มเหสีชื่อนางอินทร์สุริยา บุตรสามคนคือโกสินทร์ นรินทร์ และไกรสรสุริยา โกสินทร์และนรินทร์เป็นฝาแฝดชาย ถูกพลัดพรากจากเมืองไปอาศัยยู่กับฤๅษีตั้งแต่เล็ก จนกระทั่งเติบโตได้ออกจากอาศรมฤๅษีกลับบ้านเมือง และฤๅษีได้มอบหญิงสาวให้กับโกสินทร์ ชื่อนางวิมาลา ฝ่ายนางไกรสรสุริยาเมื่อเติบโตเกิดโดนยักษ์กุมภัณฑ์ลักพาตัวนำไปเป็นเมีย โกสินทร์และนรินทร์ได้กลับมาถึงบ้านเมืองมุขพิมาน ท้าวโกศานได้ทำพิธีรับขวัญ ต้อนรับ ทำการยกเมืองให้โกสินทร์ครอบครอง ส่วนนางอินทร์สุริยาได้พบเห็นนางวิมาลาทุกวันจึงเกิดคิดถึงนางไกรสรสุริยา ทำให้โกสินทร์และนรินทร์อาสาไปตามหา ระหว่างที่เดินทางทั้งสองได้เจอเมืองร้าง พบกลองใบใหญ่มีเสียงร้องออกมาจากกลอง ฝ่ายนรินทร์จึงใช้อาวุธวิเศษฟันกลอง พบเจอกับหญิงสาว คือนางวรดี นางได้เล่าเรื่องราวของเมือง ว่ามีกบยักษ์มาอาละวาดกินคนจนหมดเมือง ทำให้โกสินทร์และนรินทร์ไปปราบกบยักษ์และทำการชุบชีวิตคนทั้งเมืองขึ้นมา เจ้าเมืองจึงยกเมืองและบุตรสาวให้กับนรินทร์ แต่นรินทร์ขอออกเดินทางไปตามหานางไกรสรสุริยาก่อน ไม่นานทั้งสองจึงเดินทางไปถึงเมืองยักษ์กุมภัณฑ์ เกิดการต่อสู้จนยักษ์กุมภัณฑ์เสียชีวิตและนางไกรสรสุริยากลับบ้านเมือง
ฝ่ายท้าวโกสินทร์กับนางวิมาลาได้มีโอรสชื่อ สินธุมาลา ส่วนนรินทร์กับวรดีมีธิดาชื่อ วรจันทร์ นางไกรสรสุริยาคลอดบุตรที่ได้ตั้งท้องกับยักษ์กุมภัณฑ์ โกสินทร์โกรธมาก และเกรงว่าจะมาแย่งชิงสมบัติ จึงกำจัดกุมารน้อย โดยให้นำพาไปลอยน้ำ ฝ่ายพระอินทร์ทราบเรื่องจึงเกิดความสงสาร โดยให้พระวิษณุแปลงร่างเป็นปลาว่ายน้ำนำไปปล่อยไว้ที่เกาะแก้ว ซึ่งเป็นที่พำนักของพญากระบี่ป่า เมื่อพญากระบี่ป่าพบเข้าจึงไปปรึกษากับพญากุมภีล์แล้วนำไปฝากฤๅษีนาคาเลี้ยงไว้ และได้ชื่อว่า ไกรสิทธิ์ เมื่อไกรสิทธิ์เติบโตได้ทราบเรื่องจากพญากระบี่ป่าจึงตัดสินใจออกตามหามารดา ฤๅษีนาคาและพระอินทร์ได้มอบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้กับไกรสิทธิ์มากมาย ฤๅษีนาคาได้บอกไกรสิทธิ์ว่าเนื้อคู่ชื่อ รัตนมานี เป็นธิดาเมืองยักษ์ มีอาซึ่งเป็นยักษ์ ๗ ตนคอยดูแล นางรัตนมานีพำนักอยู่ในปราสาทมีกำแพงใหญ่ล้อมรอบ ๗ ชั้น
ฝ่ายไกรสิทธิ์เดินทาง ๗ วัน ๗ คืน ก็มาถึงเมืองอินทปักโข ซึ่งเป็นเมืองของนางรัตนมานี ไกรสิทธิ์ลอบเข้าไปในปราสาทและได้นางรัตนมานีเป็นคู่ครอง ฝ่ายยักษ์ทราบเรื่องเกิดการต่อสู้กับไกรสิทธิ์เป็นเวลานาน จนในที่สุดไกรสิทธิ์ได้รับชัยชนะ ทั้งหมดได้ออกเดินทางต่อจนไปถึงเมืองของนรินทร์กับนางวรดี ขอเข้าเฝ้าและเล่าเรื่องราวของตนให้นรินทร์ฟังว่าตนเป็นหลาน ทำการเดินทางไปพบมารดากับแก้แค้นลุง นรินทร์ได้ขอร้องให้ไกรสิทธิ์ให้อภัย อย่าผูกพยาบาทจองเวรกัน และตนจะเขียนสาส์นถึงท้าวโกสินทร์ ให้ขอโทษไกรสิทธิ์และยกเมืองให้ หลังจากนี้ทั้งหมดได้ออกเดินทางไปยังเมืองมุขพิมาน ท้าวโกสินทร์ได้รับสาส์นเกิดความกลัวว่าไกรสิทธิ์จะมาแย่งสมบัติ จึงให้สินธุมาลาจัดทัพมาสู้รบกับไกรสิทธิ์ ฝ่ายไกรสิทธิ์ไม่ยอมทำสงครามจึงบอกให้สินธุมาลาไปบอกให้โกสินทร์ออกมาสู้รบ ท้าวโกสินทร์กลัวพ่ายแพ้ จึงเขียนสาส์นส่งไปให้นรินทร์ เมื่อนรินทร์ได้รับสาส์นจึงรีบเดินทางมาหย่าศึก และบอกให้โกสินทร์ยอมขอโทษไกรสิทธิ์ มอบเมืองคืนให้ไกรสิทธิ์ และขอให้ไกรสิทธิ์อโหสิกรรมให้ ในที่สุดทุกอย่างก็ลงเอยด้วยดี ไกรสิทธิ์ก็ได้พบกับมารดา และปกครองเมืองอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข

แก่นของเรื่องไกรสิทธิ์
เรื่องไกรสิทธิ์ แบ่งแก่นของเรื่องได้ ๒ ประการ คือ แก่นเรื่องใหญ่ และแก่นเรื่องย่อย
๑. แก่นเรื่องใหญ่ เป็นแก่นกลางของเรื่อง คือ ต้องพลัดพรากจากกัน การเดินทางมาหากัน เรื่องจบลงเมื่อตัวละครทั้งหมดได้พบกันอีกครั้ง และเกิดการให้อภัยซึ่งกันและกัน
๒. แก่นเรื่องย่อย เป็นแก่นกลางของพฤติกรรม คือ การต่อสู้กันด้วยอิทธิฤทธิ์

ตัวละครในเรื่องไกรสิทธิ์
ลักษณะของตัวละครในเรื่องไกรสิทธิ์จะเป็นเหมือนมนุษย์ หรือเป็นมนุษย์ แต่ไม่ใช่บุคคลจริงๆ
๑. ไกรสิทธ์ ตัวเอกของเรื่อง เป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์มากมาย เพราะแม่เป็นคนพ่อเป็นยักษ์ เป็นผู้มีบารมี จะเห็นว่าในเรื่องจะมีเทวดาคุ้มครอง มีครูดี มีบริวารดี เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที มีน้ำใจนักกีฬา รู้จักให้อภัย อีกทั้งเป็นผู้มีรูปร่าง หน้าตาสง่างามตามแบบพระเอกในวรรณคดีไทย
๒. โกสินทร์ ต้องพลัดพรากจากเมืองตั้งแต่เล็ก แต่ด้วยบารมีจึงได้กลับมา แต่พอได้ครอบครองเมืองเกิดมัวเมาในอำนาจจึงสั่งฆ่าหลาน แต่สุดท้ายกลับใจสำนึกผิดยินยอมขอโทษและมอบบ้านเมืองคืนให้หลาน
๓. นรินทร์ เป็นแฝดโกสินทร์ แต่นิสัยตรงกันข้าม เป็นคนจิตใจโอบอ้อมอารี รักวงศ์ตระกูล และเป็นผู้ปรารถนาสันติ
๔. นางรัตนมานี เหมือนดังนางเอกทั่วไปในวรรณคดี คือสูงด้วยชาติตระกูล และพร้อมด้วยความงาม แต่จะไม่มีบทบาทความสามารถอย่างอื่น เป็นตัวกลางในการดำเนินเรื่อง
๕. ยักษ์ทั้งหลาย รักพี่น้อง มีความห่วงใยของที่ตนรัก

เอกลักษณ์ภูมิปัญญาทางด้านต่างๆ
๑.๑. ด้านการใช้ภาษา และลักษณะคำประพันธ์
๑.๑.๑. วรรณกรรมเรื่องไกรสิทธิ์ ใช้คำประพันธ์แบบเดียวกับวรรณกรรมของภาคใต้โดยทั่วไป คือ กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์ (ราบ) คำประพันธ์ที่ใช้มากที่สุด คือ กาพย์สุรางคนางค์ ลักษณะของคำประพันธ์ ค่อนข้างไม่ถูกต้องตามฉันทลักษณ์มากนัก แต่ก็มุ่งเน้นเนื้อหา และความเข้าใจมากกว่า เนื้อหาสนุกสนานชวนให้ติดตามตลอดทั้งเรื่อง
๑.๑.๒. วรรณกรรมเรื่งไกรสิทธิ์ เป็นวรรณกรรมชาวบ้าน การเขียนบันทึกจะเป็นลักษณะการเล่าเรื่องแบบชาวบ้าน มุ่งเน้นความสนุกสนาน การใช้ภาษามีการใช้ภาษาท้องถิ่นใต้ และภาษาไทยภาคใต้แบบโบราณ (ขอมโบราณ มอญโบราณ อักษรทมิฬ) อีกด้วย
๑.๑.๓. มีการใช้คำบาลีสันสกฤต มีลักษณะเด่นเฉพาะของภาคใต้คือ นำคำบาลี สันสกฤตมาใช้ในรูปแบบคำแผลง โดยไม่คำนึงรูปศัพท์ว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ จะมีจุดม่งหมายสำคัญคือเสียงสัมผัสเท่านั้น
๑.๒. ด้านความเชื่อ
๑.๒.๑ ความเชื่อทางด้านฤกษ์ยาม มีมาตั้งแต่สมัยโบราณสืบเนื่องมาจนกระทั่งทุกวันนี้ เป็นความเชื่อที่อาศัยการคำนวณทิศทางของดวงดาว โดยเชื่อว่าในเวลาที่จะทำการมงคล หรือจะออกเดินทางจึงมักนิยมดูฤกษ์ยามเสียก่อนเพื่อความเป็นสิริมงคล ให้ประสบโชคชัย ปราศจากภัย การดูฤกษ์เมื่อพิจารณาดูวัน เวลา สถานที่ บุคคล และสิ่งของเครื่องประกอบการทั้งหลาย โดยถี่ถ้วนว่าไม่มีอะไรขาดตกบกพร่อง ไม่มี อะไรขัดข้อง มีสมบูรณ์ดีทุกประการ อย่างนี้แหละเรียกว่า “ ฤกษ์งามยามดี ” แต่ถ้าเห็นว่ามีอะไรบางอย่าง หรือหลายอย่างยังไม่พร้อมเรียกว่า “ ฤกษ์ยังไม่งาม ยามยังไม่ดี ” หรือ “ ฤกษ์ไม่ดี ”
ดังเช่นในสมัยโบราณในเรื่องไกรสิทธิ์ตอนประกอบพิธีรับขวัญโกสินทร์และนรินทร์ได้กล่าวถึงความเชื่อด้านฤกษ์ยาม ไว้ว่า
บัดนั้นโหรเฒ่า กราบทูลท้าวสองรา
วันนี้ดีหนักหนา ให้ทำการงานพิชัย
สอบสวนต้นตำรา โหราตั้งเลขชัย
ฤกษ์ปีเมืองเป็นใด ชะตาเมืองขึ้นพารา
สอบสวนกันทั้งสี่ เกณฑ์ธรณีเกศตกดิน
ดีจริงยิ่งหนักหนา สิบห้าชั้นจะมีชัย
ครั้นแล้วสี่โหรเฒ่า กราบทูลท้าวผู้จอมไตร
ยามนี้ดี ท้าวไท ถ้าปลูกกลอยจะเป็นทอง
๑.๒.๒. ความเชื่อเกี่ยวกับความฝันและโชคลาง เป็นความเชื่อเกี่ยวข้องกับการคิดเชิงไสยศาสตร์ ที่ผู้ฝึกฝนเชื่อว่าอนาคตหรือผลลัพธ์ของเหตุการณ์บางอย่าง สามารถถูกดลบันดาลให้เป็นไปได้ด้วยพฤติกรรมที่กำหนด แนวคิดเกี่ยวกับ “โชคดี” และ “โชคร้าย” ก่อให้เกิดความเชื่อโชคลางมากมาย เช่น ความเชื่อที่ว่าถ้าจิ้งจกร้องทักก่อนเดินทางออกจากบ้านจะมีโชคร้าย เป็นต้น
ความเชื่อโชคลางนั้นจะไม่วางอยู่บนฐานของเหตุผล ความเชื่อเกิดจากความกลัว ที่แสดงออกในรูปของความเชื่อทางศาสนา ความเชื่อในเหตุการณ์เหนือจริง การเชื่อในลางบอกเหตุ และการบอกเหตุล่วงหน้า ความเชื่อโชคลางยังถูกใช้เพื่อหมายถึงระบบความเชื่อพื้นบ้าน ในความหมายที่แตกต่างกับความเชื่ออื่นๆ เกี่ยวกับโลกทางวิญญาณของศาสนา เรื่องไกรสิทธิ์ตอนนางไกรสรสุริยาฝัน ก่อนที่ถูกยักษ์กุมภัณฑ์ลักพาตัวไป ได้กล่าวถึงความฝันซึ่งเป็นลางบอกเหตุล่วงหน้า ว่า
บัดนั้นพังงา ไกรสรสุริยา ขวัญข้าวจึงฝัน
จักร้ายฤวดี มิรู้สำคัญ พระจันทร์นั้น พาเจ้าจากเมือง
บัดนั้นโหรา จึงหยิบตำรา จับยามเนืองเนือง
ขีดตารางลง ถามวันเดือนปี มารดาบุญเรือง คูณมาด้วยพลัน
ออกเศษหกห้า พลิกสิ้นทั้งนั้น อ่านโฉลกไปพลัน
ได้เมื่อจากเมือง ได้ที่นั่งพระลักษณ์ เมื่อต้องโมกขศักดิ์ ลำบากแค้นเคือง
สอบสวนค้นหา ชะตาบุญเรือง มิได้อยู่เมือง
จักจากที่ไป ดูในตรีดซ้ โหราคูณไป ตั้งเลขค้นหา
ตั้งสามยามลง บอกเขามินาน ดวงของนงคารญ
คนต่างภาษา ให้เกรงจงหนัก ผู้มาจะลัก คนต่างเขตมา
๑.๒.๓. ความเชื่อในเรื่องการบนบานศาลกล่าว แก้บนและผีสางเทวดา คือ การขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือในสิ่งที่ตนเองต้องการอยากจะได้ หรืออยากให้เป็นไป ถ้าท่านช่วยให้สำเร็จแล้วจะมาให้สิ่งตอบแทนตามที่เคยพูดไว้ คือ แก้บน มนุษย์เมื่อขาดความเชื่อมั่นตนเอง จึงต้องหันไปพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วย อยากได้อะไร ก็ไปบนบานศาลกล่าว ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยให้สมหวัง เมื่อไปบนแล้วได้ตามประสงค์จึงจะไปแก้บน การติดสินบนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผีสางเทวดา ถือเป็นพันธะสัญญาที่ต้องชดใช้ ในเรื่องไกรสิทธิ์เช่นกัน ตอนยายเฒ่ากาไชย บนบานศาลกล่าวได้กล่าวถึงการบนบานศาลกล่าว คือ ตอนที่ท้าวโกศานรับสั่งให้โหรเฒ่ามาทำนายฝันถึง ๒ ครั้ง คือ ตอนนางไกรสรสุริยาฝัน กับตอนนางอินทร์สุริยาฝัน แต่เนื่องจากเป็นรับสั่งที่เร่งด่วน เสนาที่ไปตามโหรเฒ่าในครั้งแรกรีบร้อนมากจึงไม่ได้บอกให้โหรเฒ่าทราบว่า รับสั่งให้เข้าเฝ้าด้วยเรื่องอะไร ทำให้ยายเฒ่ากาไชย ผู้เป็นภริยาเกิดความวิตกกังวล เกรงสามีของนางจะได้รับความเดือดร้อน จึงได้บนบานศาลกล่าวขอให้ผีสางเทวดาช่วยคุ้มครองโหรเฒ่าผู้เป็นสามีด้วย ดังที่ว่า
.....ยายเฒ่าคิดไว้ แกจึงเข้าไป บ่นผีบ่ช้า
เอ็นดูคนจน ช่วยคุ้มรักษา ผีปู่ผีย่า ผีเหย้าท้าวเรือน
ตากลับมาดี แต่งเครื่องบัตรพลี มีให้พักเตือน
ให้เหล้าเก้าทะนาน หมูบ้านหมูเถื่อน เจ้าเชื้อผีเรือน คุ้มครองป้องกัน
๑.๒.๔. ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องกรรม เป็นความเชื่อที่ฝังแน่นมาในจิตใจของคนไทยตลอดมา เพราะพระพุทธศาสนาสอนให้เชื่อทางด้านผลกรรม ว่า ใครทำดีได้ดี ใครทำชั่วได้ชั่ว ในเรื่องไกรสิทธิ์ ได้กล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับกรรมไว้หลายตอน แต่จะขอยกตัวอย่างมาแค่บางตอน คือตอนที่พญาอินทรีย์ผัวเมียคาบสองกุมาร (โกสิทร์และนรินทร์) ไป ทำให้นางอินทร์สุริยาเศร้าโศกเสียใจมาก ท้าวโกศานได้ปลอบนางอินทร์สุริยาให้รู้จักหักห้ามใจ โดยการยกเอาเรื่อง “กรรม” เป็นข้ออ้าง ดังนี้
นางนาถลำยอง เกลือกกลิ้งในห้อง แทบม้วยอาสัญ
กรรมแล้วน้องเอ๋ย เวรามาทัน แม่อย่าโศกศัลย์ เลยอินทร์สุริยา
..... .....
นางอินทร์สุริยา ได้ฟังผัวว่า นางมาค่อยคลาย
คิดทำบุญส่ง แก่ลูกโฉมฉาย ผัวเมียสบาย เหมือนแต่ก่อนมา
อยู่เย็นเป็นสุข คอยคลายหายทุกข์ สุขเกษมเปรมปราง
ทำบุญตักบาตร ไม่ขาดเวลา ...............
๑.๓. ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี
๑.๓.๑. พิธีขึ้นเบญจารดน้ำ เบญจา หรือบินจา ที่ปรากฏในเรื่องไกรสิทธิ์ จะหมายถึง ชั้นที่นั่งทำเป็นเรือนยอด ใช้สำหรับพิธีรดน้ำพื่อรับขวัญโกสินทร์กับนรินทร์ โดยในเรื่องนรินทร์ทำการแผลงศรให้บัเกิด “บินจาเงินบินจาทอง” ดังว่า
บัดนั้นนรินทร์ สมเด็จโกสินทร์ เจ้าจึงแปลงศร
เสียงดังคือฟ้า ศิลป์พระภูธร บินจาเงินนจาทอง บังเกิดขึ้นมา
ล้วนทองแกมแด้ว ประเสริฐเลิศแล้ว ทุกชั้นบินจา
เครื่องประดับสุกใส ดูพรายแพรวตา พูนเกิดขึ้นมา ด้วยบุญภูมี
๑.๓.๒. ประเพณีการรับขวัญ คนตั้งแต่เกิดมาเชื่อว่าจะมีขวัญมาอยู่ประจำชีวิต และถ้าหากขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็จะออกจากร่างกายเสีย เรียกกันว่า ขวัญหนี ขวัญหาย เป็นต้น ในเรื่องไกรสิทธิ์ กล่าวถึงพิธีสมโภชรับขวัญตั้งแต่เริ่มเตรียมงานจนเสร็จพิธี สรุปได้ว่า
ตอนเตรียมงาน ท้าวโกศานมีรับสั่งให้ปลูกโรงพิธี และแจ้งข่าวไปยังหัวเมืองต่างๆ ดังว่า
ท่าท้าวมีโองการมา สั่งนายเสนา
เร็วหราไปปลูกโรงพลัน
สามสิบเก้าห้องโรงขวัญ เร่งเกณฑ์กันพลัน
ให้ทันตามโองการไป......
ตอนพิธีรับขวัญ เริ่มจากท้าวโกศานจุดเทียนชัย ถือเทียนด้วยมืทั้งสอง เวียนเทียนจากซ้ายไปขวา ๓ รอบ ใช้มือโบกควันเทียนไปทางผู้เข้าพิธี คือโกสินทร์กับนรินทร์ แล้วส่งเทียนชัยต่อไปยังผู้ที่นั่งถัดไป และกระทำเช่นเดียวกัน มื่อเวียนเทียนชัยจนครบทุกคนแล้วก็พากันโห่ร้อง ๓ ครั้ง เพื่อเอาฤกษ์ชัย ดังว่า
ทั้งท้าวทั้งสองรา ให้ทำขวัญลูกสายใจ ครั้นแล้วมีทันช้า
ให้ป่าวทั้งเวียงชัย นั่งล้อมลูกท้าวไท ทำขวัญเจ้าสองโพงา เวียงแว่นแต่ซ้ายมาหาขวา ตั้งโอโห่สามลา โบกควันให้ต้องไท .............
๑.๓.๓. การเล่นนมยานตีเก้ง หรือนมยานตีเก่ง มีมาตั้งแต่ปลายสมัยศรีวิชัย และนิยมเล่นกันเฉพาะชาวภาคใต้สมัยโบราณ เพราะยังไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการละเล่นประเภทนี้ในภาคอื่น การเล่นตีนมยานตีเก้ง เข้าใจว่าเล่นกันเพื่อความสนุกสนานมากกว่าการเอาจริงเอาจัง ในเรื่องไกรสิทธิ์ ได้กล่าวถึงการเล่นนมยานตีเก้ง ว่า
นมยานให้ตีเก้ง เห็นวังเวงทั้งซ้ายขวา ตุ้งติ้งวิ่งเข้ามา
ออกตั้งท่าตีกันพลัน นางหนึ่งหน้าแช่มช้อย ยานมิน้อยล่ำสากัน นางหนึ่งหน้าคมสัน แลระเมงทั้งสองรา เปรียบได้ออกตีพลัน นมยานนั้นกวัดไปมา
นางฟ้าโห่ฉาฉา เพิ่งมาเห็นคนนมยาน
๑.๓.๔. การเล่นช่วงชิง (ตีคลี) เป็นการเล่นพื้นเมือง นิยมเล่นในช่วงประเพณีสงกรานต์ มีผู้เล่นหลายคน บางท้องถิ่นเรียก เล่นตีคลี การเล่นช่วงชิงที่กล่าวถึงในเรื่องไกรสิทธิ์ เป็นการเล่นช่วงชิงดอกไม้ เล่นเพื่อความสนุกสนาน ตอนในขณะที่นางไกรสรสุริยาลงเล่นน้ำพร้อมด้วยพี่เลี้ยงซึ่งเป็นบริวาร ดังว่า
.....เล่นน้ำอยู่นาน นางน้องฉายา เล่นน้ำอัตรา
ด้วยพี่เลี้ยงพลัน เก็บดอกไม้มา ทุ่มลงชิงกัน แม่ไกรสรนั้น
ฉวยได้ทุกครา
มาเล่นอยู่นาน เป็นสุขสำราญ ลืมท้าวทั้งสอง
ช่วงชิงดอกไม้ ได้น้องทุกครา พี่เลี้ยงแล่นมา เจ้าทุ่มลงพลัน
๑.๓.๕. การไถ่กลบนักโทษ เป็นวิธีการประหารนักโทษ ซึ่งนิยมใช้ในสมัยโบราณ ในเรื่องไกรสิทธิ์ ตอนที่นรินทร์ให้โหรทั้ง ๔ ทำนายฝัน ได้กล่าวถึงการไถ่กลบนักโทษว่า
โหรเฒ่ากล่าวเป็นสัตย์ แม่นแม้ทัดแล้วโฉมตรู
ลูกหลานท่านมาสู่ แม่นแท้นักประจักษ์ใจ
แม่นยำเหมือนคำทาย ขอถวายเศียรทั้งสี่
ประเทียบวัวตัวโต ไถประจานผ่านทั้งนา
๑.๔. ด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่
๑.๔.๑. บรรยายหรือพรรณนาถึงธรรมชาติ ทำให้ทราบถึงสภาพภูมิศาสตร์ ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ในเรื่องไกรสิทธิ์มีบทชมธรรมชาติ ชมโฉมตัวละคร ชมบ้านเมือง หรือบทพรรณคร่ำครวญ ตัวอย่างเช่น ในเรื่องไกรสิทธิ์ตอนท้าวโกสินทร์ นรินทร์ นางวรดี และนางไกรสรสุริยาลงเล่นน้ำในสระ มีบทชมปลา ว่า
นวนนองถามไป โนปลาอันได ไหญยาวนักหนา
พันนำซีนพรุย เหมือนฝนตกมา แทบเทียมพูผา เข้าเรียกซิ่วได…..
๑.๔.๒. บอกถึงประสบการณ์เกี่ยวกับชีวิตสัตว์ทะเลเป็นอย่างดี ในเรื่องไกรสิทธิ์ได้กล่าวถึงปลาหายชนิดซึ่งไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก เช่น ปลาตะเพียนทะเล ในเรื่องไกรสิทธิ์ กล่าวว่า
วันนีจอมขวันจะมันไหลย พ่ายาเสียไจย
เป็นเหยีวมัดฉาปลาเพียน ทั้งคู่ใหววงทองเวียง.....
๑.๔.๓. กล่าวถึงบ้านเมืองและราชสำนัก การปกครองหัวเมืองหรือชนบทในขณะนั้น ในเรื่องไกรสิทธิ์ ตอนที่ท้าวโกสินทร์กับนรินทร์เดินทางกลับเมืองมุขพิมาน ว่า
.....บางขายเสิวผ้า แก้วแหวนมีค้า เฉียนเงรภารทอง
แตภอกสาว๒ นงรายขายของ นงปักห่มกรอง รองเบาะขายของ.....
๑.๔.๔. บ่งบอกวิถีชีวิตของการแย่งชิงสู้รบ ให้ได้มาซึ่งบ้านเมืองของการปกครองของสมัยโบราณ ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้ด้วยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ มนุษย์ต่อสู้กับยักษ์ การต่อสู้ด้วยชั้นเชิงและไหวพริบ ในเรื่องไกรสิทธิ์ได้กล่าวไว้หายตอน ไม่ว่าจะเป็นตอนที่รบระหว่างไรสิทธิ์กับยักษ์ ว่า
ประหมารห้ารอย ห้าต๊กยาห้วย เลือดญ้วยดาบดา
มิวเดียวตืนเดียว กอดเกียวกันมา ลีดลีนปลินตา เข้ามามีถอย.....
๑.๔.๕. ความรักของมารดาที่มีต่อบุตร ในเรื่องไกรสิทธิ์ ได้มีบทการสูญเสียลูก การพลัดพรากจากกัน การร้องไห้ เซื่องซึม สลบไป ตัวในตอนนางไกรสรสุริยาคร่ำครวญถึงลูกซึ่งถูกท้าวโกสินทร์สั่งฆ่า โดยให้เพชฌฆาตนำใส่โกศทองลอยน้ำไป ว่า
.....พระโลกคะบาน ถึงสาบันชี ไครขาไครดี
ครังนีลูกขามาตาย ดวยพระพีชาย ทารใดเมตาปราหนี.....

คุณค่าของเรื่องไกรสิทธิ์ วรรณกรรมประโลมโลก
วรรณกรรมประเภทนิทานประโลมโลกมีจุดมุ่งหมายโดยตรงเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน ส่วนของเรื่องราวจะเกิดจากประสบการณ์ตรงของผู้แต่ง จึงทำให้ก่อให้เกิดคุณค่าทางด้านคติธรรม สังคม จริยธรรม วัฒนธรรม และแนวคิดกับผู้อ่านด้วย

แนวคิดที่ได้รับจากเรื่องไกรสิทธิ์ วรรณกรรมประโลมโลก
๑. เรื่องกรรม ในเรื่องไกรสิทธิ์ได้กล่าวถึงเรื่องกรรมไว้มากมาย เช่น ตอนที่พญาอินทรีย์คาบเอา ๒ กุมารไป และยักษ์ลัดพาตัวนางไกรสรสุริยาไป ท้าวโกศานก็สรุปเพื่อปลอบใจนงอินทร์สุราว่า “เป็นเองของกรรม” นอกจากเรื่องนี้ยังกล่าวถึงการทำบุญตักบาตร การอุทิศส่วนบุญกุศล กรวดน้ำไปให้ยังผู้ล่วงลับไปแล้วอีกด้วย
๒. เรื่องไม่จองเวรต่อกัน ในเรื่องนี้สอนได้ว่า “เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร” ก็จะจบลงด้วยดีก็เพะราสัจจะธรรมนี้
๓. เรื่องธรรมมะย่อมชนะอธรรม โดยในเรื่องก็กำหนดให้มนุษย์เป็นฝ่ายธรรมะ และยักษ์เป็นฝ่ายอธรรม มีการทำสงครามกัน มนุษย์ชนะยักษ์ ก็คือธรรมะย่อมชนะอธรรม

วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2551

แข่งเรือยาว

แข่งเรือยาว


--------------------------------------------------------------------------------


พอถึงวันดีที่จะออกพรรษา
จัดแจงนาวาพร้อมเพรียงเรียงราย
ทั้งหญิงทั้งชายจัดไว้พร้อมเสร็จ
ถึงวันเสด็จเสร็จแล้วจึงไป
ฯลฯ
ชวนกันลงลากฉุดชากลงไป
ไม่เช้าเท่าใดถึงมาแหลมโพธิ์
เสียงดังฉาวโฉ่ฆ้องกลองสวรรค์


ว่ากันว่าจังหวัดสงขลาเป็นจังหวัดหนึ่งที่สืบทอดประเพณีชักพระมาตั้งแต่โบราณ กล่าวคือมีทั้งการชักพระทางบก ซึ่งชักลากรถหรือเลื่อนที่ประดิษฐานบุษบกพระไปตามถนนหนทาง กับการชักพระทางน้ำ ซึ่งชักลากเรือบุษบกพระไปตามแม่น้ำลำคลอง บางทีก็ออกสู่ทะเล โดยเฉพาะทะเลสาบสงขลา การชักพระทางน้ำนี้เองเป็นต้นกำเนิดของการเล่นเพลงเรือของภาคใต้ โดยเฉพาะเพลงเรือแหลมโพธิ์ ของจังหวัดสงขลา ที่เล่นสืบทอดประเพณีกันมานานนับร้อยปี



ประวัติเพลงเรือแหลมโพธิ์ จากหนังสือเพลงเรือแหมโพธิ์ของ สนิท บุญฤทธิ์ เขียนไว้ว่าคือเพลงเรือที่มีศูนย์กลางการเล่นอยู่ที่บริเวณแหลมโพธิ์ ซึ่งเป็นแหลมเล็กๆ ยื่นลงไปในทะเลสาบสงขลา พื้นที่ประมาณ 5 ไร่ อยู่ทางตอนเหนือของหมู่ที่ 3 บ้านแหลมโพธิ์ ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นเพลงที่พวกฝีพายเรือยาวร้องเล่นในเรือร่วมกับประเพณีชักพระ เพื่อชักลากเรือบุษบกพระไปสู่จุดหมายในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11

เพลงเรือแหลมโพธิ์เป็นเพลงเรือเช่นเดียวกันกับเพลงเรือที่มีเล่นในภาคกลางของประเทศไทย มีลักษณะเป็นประเพณีราษฎร์ แต่ความน่าสนใจศึกษาเฉพาะกรณีเพลงเรือแหลมโพธิ์อยู่ที่เพลงเรือแหลมโพธิ์เป็นเพลงเรือที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ไม่มีที่ใดเหมือน หากว่าเพลงเรือแหลมโพธิ์เป็นเพียงเพลงที่เล่นกันในเรือ ว่าโต้ตอบกันระหว่างหนุ่มสาวแล้ว เพลงเรือแหลมโพธิ์ก็คงจะแตกต่างจากเพลงเรือภาคกลางดังกล่าวเพียงพื้นที่เล่นและภาษาในเพลงซึ่งเป็นภาษาถิ่นเท่านั้น แต่เพลงเรือแหลมโพธิ์นอกจากเป็นเพลงเล่นในเรือแล้ว ในส่วนอื่นๆ จะไม่เหมือนกับเพลงเรือในภาคกลางเลย

เพลงเรือแหลมโพธิ์ จึงเป็นเพลงอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งแต่เดิมคนทั่วไปมักเข้าใจว่าเพลงเรือนั้นมีเพียงรูปแบบเดียว คือเพลงเรือของภาคกลาง โดยเฉพาะแถบจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี สิงห์บุรี และอ่างทองเท่านั้น

เพลงเรือแหลมโพธิ์นี้เรียกชื่อตามสถานที่ที่เป็นจุดนัดหมายที่เรือเพลงชักพระมารวมกัน คือที่แหลมโพธิ์แล้วขึ้นเล่นเพลงเรือต่อกันบนบริเวณแหลมโพธิ์ด้วย

จากการศึกษาเกี่ยวกับชื่อเพลงเรือ แม้พื้นที่ในเขตอำเภอหาดใหญ่เพียงเขตเดียวก็เรียกชื่อต่างๆกันออกไป เช่นตำบลแม่ทอมจะเรียก "เพลงเรือ" ตำบลคูเต่าเรียก "เพลงยาว" บ้าง "เพลงเรือยาว" บ้าง ตำบลบางกล่ำ บ้านหนองม่วงนั้นเรียกว่า "เพลงยาว" และเรียกเพลงเรือสั้นๆ ขนาด 2-3 กลอนจบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพลงของพวกขี้เมาว่า "เพลงเรือบก" พระมหาเจริญ เตชะปัญโญ แห่งที่พักสงฆ์บ้านแหลมโพธิ์กล่าวว่า "มีคำเรียกเพลงเรืออีกคำหนึ่งคือคำว่า เพลงร้องเรือ แต่ในจำนวนทั้งหมด คำว่าเพลงยาวเป็นคำที่เรียกเก่าแก่ที่สุด ในเพลง "ชมนมพระ" ของนายพัน โสภิกุล ได้กล่าวถึงชื่อนี้ไว้กลอนหนึ่งว่า "บ้างร้องเพลงยาวรำเพลงต่างต่าง" คำว่า "เพลงยาวนี้" ได้รับการยืนยันจากผู้สูงอายุในพื้นที่เก็บข้อมูลเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นคำตัดมาจากคำว่า "เพลงเรือยาว" เพราะแต่เดิมเรือที่ใช้ชักพระและเล่นเพลงนั้นเป็นเรือยาวแทบทั้งนั้น ด้วยว่า "เรือยาวเป็นเรือสำหรับผู้ชาย ส่วนเรือสำหรับพวกผู้หญิงนั้นเรียกเรือเพรียว" เรือเหล่านี้มักเป็นของวัด จะมีกันวัดละหลายๆลำ อย่างวัดอู่ตะเภา วัดคูเต่ามีมากถึงวัดละ 7-8 ลำ เพิ่งมาตอนหลังเมื่อมีการตัดถนนเข้าสู่หมู่บ้านมากขึ้น ความจำเป็นในการใช้เรือน้อยลง เรือเหล่านั้นก็ถูกขายไปเป็นอันมาก แต่เป็นที่น่ายินดีที่มีการจัดสร้างเรือยาวขึ้นใหม่ที่วัดอู่ตะเภา เพื่อใช้ในพิธีชักพระ

เรือพระทางน้ำนั้นก็ได้รับการประดับตกแต่งทั้งตัวเรือและนมพระ (พนมพระหรือมณฑปพระ) เช่นเดียวกับการชักพระทางบก บางทีอาจจะวิจิตรพิสดารกว่าเรือพระทางบกเสียด้วยซ้ำ ทั้งนี้เรือพระ น้ำในสมัยโบราณบางลำใช้เรือยาวผูกขนานต่อติดกันถึง 3 ลำ เรือพระยิ่งลำใหญ่เท่าใดก็ยิ่งต้องอาศัยแรงชักลากจากฝีพายเรือชักลากมากลำขึ้นเท่านั้น ด้วยแรงศรัทธาและความเชื่อที่ว่า "เมื่อพระหลบหลัง ฝนจะตกหนัก" กับความบันดาลใจในความวิจิตรงดงามด้วยศิลปะพื้นบ้านที่แข่งสีสันตัดกันลานตาของเรือพระ กับสีสันของเสื้อผ้าอาภรณ์และหน้าตาของสตรีเพศทั้งที่ไม่อาจไปร่วมในการชักพระ เพียงแค่มายืนส่งสลอนอยู่บนสองฝั่งคลองกับสตรีเพศที่ร่วมลำไปด้วยในกระบวนชักพระนั้น ทำให้คนพื้นบ้านภาคใต้ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นผู้ที่มีอารมณ์ทางกาพย์กลอนสูงอยู่แล้วได้เกิดปฏิภาณเป็นถ้อยคำร้อยเรียงดังๆ ออกมาคนหนึ่งแล้วคนอื่นๆ ในกลุ่มก็มีอารมณ์ร่วมรับตามต่อๆกัน เมื่อเห็นว่าการร้องรับกันแบบนี้สนุกและทำให้เกิดพลังความฮึกเหิม เป็นสื่อร่วม กำหนดให้ลงฝีพายพร้อมๆกัน สามารถบรรลุถึงจุดหมายของกิจกรรมชักพระร่วมกันได้ ก็นิยมว่าเป็นสิ่งดี เป็นวัตกรรมแห่งสมัยที่ควรจดจำไว้ปฏิบัติอีกในคราวต่อๆไป จนกระทั่งพัฒนาเป็นเพลงเรือแหลมโพธิ์ในที่สุด


ผมสืบค้นเรื่องราวของเพลงเรืออยู่บ้าง ดังนั้นเมื่อมีงานบุญหลังออกพรรษา ผมจึงตั้งใจว่าจะไปฟังเพลงเรือที่แหลมโพธิ์ให้ได้ พอๆกับความตั้งใจที่จะไปดูการแข่งเรือยาวประเพณีที่วัดอู่ตะเภา แต่ช่วงเช้าก็ติดธุระด่วนจนได้

เรื่องประเพณีแข่งเรือยาวนั้นพอได้ยินได้รู้อยู่บ้าง ด้วยเหตุที่ว่าบางปีก็มีการถ่ายทอดสดทางช่อง 11 พอได้รื้อฟื้นบรรยากาศเก่าๆในอดีต และเห็นวิถีของคนริมคลองที่ยังสัมพันธ์แนบแน่นกับสายน้ำ แต่พอมาเป็นเพลงเรือนั้นยังไม่เป็นที่รู้จัก เคยได้ยินแม่เพลงมาร้องเล่นบ้างก็ไม่กี่ครั้ง แต่ที่เร้าความสนใจผมมากขึ้นในช่วงหลังๆเห็นจะเป็นแนวคิดในการทำงานที่เราเห็นช่องทางว่า วัฒนธรรมก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้คลองอู่ตะเภาหยั่งรากลึกไปถึงหัวใจคนมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กๆ

ระยะหลังได้ข่าวมาว่ามีการอนุรักษ์เพลงเรือ ครูหลายคนพยายามค้นหาเพลงเรือเก่าๆนำมาสอนเด็กให้หัดร้อง เครือข่ายของเราเองก็มีความพยายามฝึกหัด เราฝันไปไกลถึงขนาดว่าตอนนี้เรามีหลักสูตรท้องถิ่นวิชารักษ์คลองอู่ตะเภา สอนเด็กๆในเขตพื้นที่การศึกษาเขต 2 ของจังหวัดสงขลา เด็กๆทั้ง 211 โรงเรียนจะได้เรียนรู้เรื่องคลองอู่ตะเภา โดยการบุกเบิกของครูโรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์แล้ว อนาคตเพลงเรือ มโนห์รา หนังตะลุง สื่อพื้นบ้านเหล่านี้จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เราสามารถสื่อสารเนื้อหาของการอนุรักษ์คลองอู่ตะเภาลงไป

บ่ายของวันออกพรรษาปลายปีซึ่งมีงานบุญ "ชักพระ"1 พาเรามุ่งหน้าฝ่าสายฝนไปยังแหลมโพธิ์ ผมนึกถึงเสียงกลอง เสียงเรือพระในอดีต ที่วัดเก่าบ้านเกิดของผม เราลากพระกันทางบก เรือพระที่มีธงทิวประดับประดาหลากสีสันผุดพริ้วขึ้นในห้วงนึก

ท้องถนนลูกรังสีขาวซึ่งทอดยาวเลียบขนานไปกับกำแพงวัดอู่ตะเภาวันนั้น กำลังเปียกชื้นไปด้วยสายฝน น้ำฟ้าโปรยเม็ดลงมาตั้งแต่เช้า ท้องฟ้าในมุมที่แหงนมองขึ้นไปมืดครึ้มไปด้วยสีเทาของเมฆฝนปกคลุมไปทั่ว แต่ก็ยังเว้นช่วงให้มีแดดอ่อนๆได้อาบสะท้อนพื้นผิวน้ำ ดูเหมือนว่าฟ้าฝนไม่เป็นใจนักสำหรับงานบุญออกพรรษาปีนี้ แต่ผู้คนก็ไม่ระย่อ ยังคงออกมาร่วมงานประเพณีอย่างคึกคัก

ไม่เว้นแม้คนต่างถิ่น ซึ่งเป็นผู้คนอีกนับร้อยชีวิตที่เดินทางมาเยือนด้วยจุดหมายที่ไม่แตกต่างกัน ผมเองเพิ่งหันหัวรถเลี้ยวกลับมาจากแหลมโพธิ์ ซึ่งขณะนั้นงานพิธีต่างๆสิ้นสุดไปแล้ว คงเหลือแต่งานรื่นเริง แล้วก็จำหน่ายสินค้าของบรรดาพ่อค้าที่มาเปิดร้าน แล้วก็มี "มวยจาก"2 กำลังชกกันอย่างสนุกสนาน

น่าเสียดายที่เรามาไม่ทันได้ยินเพลงเรือ ซึ่งแม่เพลงหลายๆตำบลได้วาดลวดลายประชันฝีปากกันตั้งแต่เช้า ไม่ทันได้เห็นแฟนซีเพลงเรือซึ่งไม่เหมือนใคร แต่ไม่เป็นไร ยังมีการแข่งเรือยาวประจำปี...

เสียงตะโกนเชียร์เรือยาวดังข้ามหมู่ไม้ที่ขึ้นรถครึ้มเบื้องหน้า ฉุดให้ฝีเท้าเราต้องรีบเร่ง ใจผมเต้นแรงขึ้นเมื่อเดินมาถึงทางแยก ซึ่งตัดกับถนนริมคลองอู่ตะเภา ณ ห้วงเวลานี้คลาคล่ำไปด้วยฝูงชนในอาภรณ์หลากสี ราวกับหน้าหนาวที่ดอกไม้กำลังแย้มกลีบงามเบ่งบานอวดสีสันตามฤดูกาล


มุดแทรกคลื่นผู้คนที่ยึดพื้นที่ริมคลองไว้อย่างแน่นหนา ริ้วธงผ้าหลากสีแขวนจากฝั่งหาดใหญ่ไปถึงฝั่งบางกล่ำ ลากตัดเป็นเส้นโค้งไขว้ไปมา ริมตลิ่งประดับไปด้วยป้ายโฆษณา ถนนกว้างๆแคบไปถนัดใจ เสียงกลองโพนตีกระชั้นขึ้นอีก โฆษกสนามพูดแทรกขึ้นในบางช่วง ผมผ่านเต้นปะรำพิธี ชะโงกหน้าไปยังริมคลอง ผมเห็น"เรือพระ" ลอยลำอยู่ริมตลิ่ง พร้อมกับเรือยาวที่จะใช้แข่งขัน ลูกเรือซึ่งเป็นคนหนุ่มในหมู่บ้านชะเง้อไปยังเรือแข่งที่กำลังซ้อมฝีพายอยู่อีกฟาก

ผิวน้ำคลองอู่ตะเภามีสีออกน้ำตาลแกมเขียว ยามนี้แผ่กระเพื่อมเป็นริ้วคลื่นด้วยแรงกระแทกของท้องเรืออันเกิดจากแรงจ้ำของฝีพายอีกที น้ำใหม่แห่งฤดูกาลเพิ่งลงมาเติมเต็มจากฟากฟ้า จิตใจผู้คนพากันแช่มชื่น

สายน้ำได้เชื่อมโยงคนทั้งสองฟากฝั่งให้ไปมาหาสู่กัน

ทั้งสองฟากฝั่งเต็มไปด้วยผู้คน ไม่สนใจแม้ว่าจะมีสายฝนโปรยเม็ดลงมาหนาตา ร่มคันเล็กคันน้อยบานสะพรั่งอวดสีสันกับสีเสื้อทั้งหญิงชาย คนเฒ่า เด็ก ไม่เว้นแม้แต่พระภิกษุ ที่ออกมายืนกางร่มดูการแข่งเรือ

เรือพายเกือบ 30 ลำ มาจอดตรงริมตลิ่ง รอจนพิธีเปิดสิ้นสุดลงไปแล้ว ขบวนเรือจึงแยกย้ายกันไปยังจุดออกสตาร์ท

ไม่ช้าเสียงปืนนัดแรกก็ดังขึ้นเป็นสัญญาณการแข่งขัน

เสียงตะโกนเชียร์เรือฝั่งของตัวเองดังขึ้นตลอดระยะทาง 100 เมตรของการแข่งขัน ทำให้คลองมันมีชีวิตขึ้นอีกครั้ง.


--------------------------------------------------------------------------------

เชิงอรรถ

1 : แต่ละปี ทางวัดและชาวบ้านที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงจะช่วยกันจัดเตรียม เรือ รถ ประดับประดาตกแต่งอย่างสวยงาม แล้วอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นไปประดิษฐ์ฐานบนบุษบก (คืออาคารทรงมณฑปขนาดเล็กยอดทรงปราสาทรูปเจดีย์ย่อมุมสิบสอง จอมแหผายออก ใช้เป็นประดิษฐานพระพุทธรูปในอุโปสถ หรือที่เรียกตามภาษาพื้นเมืองว่า "พนมพระ" สำหรับใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปแล้วประดับประดาด้วยธงสามเหลี่ยมด้านละ 3 คัน รอบนอกกั้นฝ้าฝืนยาวประมาณ 2-3 เมตร เพื่อให้สวยงาม มีการนิมนต์พระภิกษุขึ้นประจำบุษบกด้วย)

ขณะทีชักพระตัวพญานาค 2 ห้ว ด้านหน้าต้องใช้เชือกขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-6 เซตติเมตร ยาวประมาณ 2 เมตรขึ้นไป เพื่อใช้ในการชักพระข้างละเส้น เวลาชักพระจะมีการตีกลองซึ่งตั้งอยู่บนขบวนเป็นการเร่งจังหวะในการลากด้วย การชักพระบนบกหรือทางน้ำจะทำการชักพระไปตามสถานที่ ๆ กำหนดไว้บางแห่งจะมีจุดนัดพบของการชักพระเพื่อให้ประชาชน ได้ทำบุญประเพณีตามสถานที่ชุมนุมพระเสร็จเรียบร้อยแล้ว

2 : มวยที่ชกกันบนตับจาก(ใบจากตัดลงมาปูรองฟื้น) เลยเรียกว่ามวยจาก




_____________________________________________________________________________

ขอขอบคุณ ข้อมูล : จดหมายข่าวเพื่อคนรักษ์คลองอู่ตะเภา ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๖/๒๕๔๗

วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2551

วิถีแห่ง"โนบิตะ"ชยชนะของคนไม่เอาถ่าน

พยายาม "แบบโนบิตะ" ก็เพียงพอแล้ว

พอรู้ว่าฝันประเภทไหนที่สามารถเป็นจริงได้ที่เหลือก็แค่ลงมือทำมันให้กลายเป็นจริง อย่างไรก็ตามคุณไม่จำเป็นต้องกัดฟันสู้จนเลือดตกยางออก จานี้เาจะมาศึกษากันว่าอะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กขี้แย เอื่อยเฉื่อย และโหลยโท่ยอย่างโนบิตะ สามารถทำฝันของเขาให้กายเป็นจริงได้???




พอโนบิตะรองไห้โดราเออม่อนต้องให้ความช่วยเหลือ ???


ผู้อ่านหลายคนคงมีความิดเช่นนี้อู่ในหัว "โนบิตะ วันๆไม่เคยทำอะไร เอาแต่รอความช่วยเหลือจากโดราเอม่อน" แต่หลังจากได้วิเคราะห์ประโยคคำพูดและเนื้อหานี้ พบว่า โนบิตะไดพยายาต่อสู้ เผชิญหน้าตามสไตล์ของเขาเอง แต่เนื่องจากความสามารถที่มีอยู่จำกัด บ่อยครั้งที่ผลลัพธ์จึงไม่ออกมาอย่งที่คาดหมาย

ในยามที่โนบิตะพยายามแล้วแต่ไม่ประสบความสำเร็จ หรือเมื่อเจอโนบิตะเจอปัญหาประเภทยิ่งแก้ยิ่งวุ่น โดราเอม่อนก็จะคอยพิจารณาสถานการณ์อย่างรอบคอบ และหยิบยื่นของวิเศษให้ความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม ดั่งเช่นในตอน "ไขเข้าเจ้าลานน้อย" นิ้โดเรม่อนก็ตอบสนองคำขอความช่วยเหลือจากโนบิะได้อย่างเหมาะสม

"ไขเข้าเจ้าลานน้อย"

ระหว่างพักกลางวัน โนบิตะพยายามเร่งสปิดกินมื้อกลางวันของเขา ด้วยความเร็วสุดแรงเกิด อย่างไรก็ตาม วินาทีที่เขาวางมือจากช้อนลงออดเข้าเรียนภาคบ่ายกับดัง "กริ๊งๆๆๆๆๆๆ"ขึ้นเสียได้ วันนี้โนบิตะต้องแห้วอดเล่นตอนพักกลางวันอีกตามเคย พอเริ่มการเรียนการสอนในตอนบ่ายโนบิตะออกทะเลเมื่อเจอโจทย์เลขที่อาจารย์ตั้งมาให้ จนในที่สุดก็โดนอาจารย์ตำหนิอีกแล้วว่า "เฮ้อ ยังไม่ได้ทำอีกเหรอนี่" หลังเลิกเรียนไจแอนต์กับซุเนโอะมาท้าเขาวิ่งแข่งกลับบ้าน อย่างที่คาดโนบิตะพ่ายแพ้อย่างราบคาบ

กลับมาถึงบ้าน ก็ยังโดนแม่ดักคออีกแล้วว่า "ทำการบ้านให้เสร็จก่อนแล้วค่อยออกไปเล่นข้างนอก" โนบิตะจึงเริ่มลงมือจัดการกับการบ้านของเขา ตอนหันหน้าเข้าหาโต๊ะโนบิตะก็เกิดอาการฟิตขึ้นมา "เอาละ เดี๋ยวจะทำรวดเดียวให้เสร็จเลยคอยดู" ปรากฎว่ามันไม่ง่ายอย่างที่คิด พอถูกไจแอนด์และซูเนโอะที่ไปเล่นเบสบอลล้อหนักเข้า "เฮ้! ยังทำไม่เสร็จอีกเหรอ" "การบ้านหมูๆ อย่างนี้เนี๊ยะนะ" "นายนี่มันทึ่มจริงๆ" โนบิตะถึงกับน้ำตาร่วง "ผล่อย!!!" ต้องขอคำปรึกษาจากโดราเอม่อน "ทำไมฉันถึงเกิดมาโง่อย่างนี้"
โดราเอม่อนเห็นสถานการณ์ไม่ดีจึงเอา "ลานสุดฟิต" ออกมาและไขลงบนหัวของโนบิตะ

เท่านั้นเอง มือของโนบิตะก็เริ่มวิ่งเป็นรถจักร การบ้านกองโตก็เสร็จชั่วพริบตา
ครั้นพอวิ่งไปถึงสนามเบสอล ไจแอนด์และซูเนโอะกลับดูถูกเขาอีกว่ "ขืนทีมเรามีไอ้ทึ่มอย่างนาย ประเดี๋ยวก็แพ้อย่างอีหรอบเดิม" ก็จะถึงเทริ์นตีของโนบิตะโดราเอม่อนจึงลงมือไขลานบนหัวจนสุดลาน

ปรากฎว่าไม้แรกของโนบิตะหวดแต่ลมเข้าอย่างจัง โดราเอม่อนจึงแนะนำว่า "ตีแค่เบาๆก็พอ" คราวนี้ลูกเบสบอลจึงหลุนๆไปทางพิชเชอร์ แต่โนบิตะกลับวิ่งได้ครบทั้ง 4 เบสด้วยสปีดสุดพิกัดทำคะแนนให้ทีมได้สำเร็จ

ในที่สุดฟอร์มอันร้อนแรงของโนบิตะก็ช่วยทีมได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น เป็นอะไรที่เกิดขึ้นร้อยทีปีหน วันนั้นโนบิตะสามารถเดินกลับบ้านด้วยความรู้สึกอันปลอดโปร่ง อย่างไรก็ตามลานบนหัวเขายังไม่คลายไม่หมดรอบลง ทันทีที่โนบิตะจรดบั้นท้ายลงบนโต๊ะอาหารทุกสิ่งทุกอย่างก็พลันหาไปราวกับสายลม




รวมเล่มฉบับที่ 11
อย่างที่ท่านผู้อ่านทราบกันดี โนบิตะนั้นมีนิสัยเอื่อยเฉื่อย มาแต่ไหนแต่ไรจึงไม่สามารถทำเรื่องทั่วไปภายในเวลาที่เด็กคนอื่นเขาทำกันได้ ทว่า หากโดราเอม่อนมีนิสัยเอาของวิเศษออกมาช่วยโนบิตะทุกครั้งที่ร้องไห้งอแงแล้ว โดราเอม่อนก็คงเอา "ลานสุดฟิต" ติดลงบนหัวของโนบิตะตั้งแต่แรก

ไม่ว่าโนบิตะจะพยายามตะกรุมตะกรามกินเข้าไปรวดเร็วขนาดไหน ก็ไม่สามาถทานให้หมดภายในเวลาที่จำกัดได้ โจทย์ในห้องที่อาจารย์ตั้งให้ถึงตั้งใจจะแก้ก็แก้ไม่สำเร็จ อยากทำการบ้านให้เสร็จก่อนออกไปเล่นข้างนอกอย่างที่คุณแม่กำชับไว้ แต่ัยังไงการบ้านก็ไม่เสร็จซักที ในที่สุดพอถูกไจแอนด์และซูเนโอะล้อว่าไอ้ทึ่ม และทิ้งเขาไว้ไปเล่นเบสบอลกันแค่สองคน ทั้งๆที่ตั้งใจจะเผชิญหน้าแก้ปัญหาไปทีละจุด แต่โนบิตะกลับถึงน้ำตาร่วงเมื่อต้องมาเจอสถานการณ์เช่นนี้ ณ จุดนี้เองเป็นเวลาที่โดราเอม่อนจะหยิบเครื่องมือวิเศษของเขาออกมาใช้

ปัญหาทุกๆปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียนหรือเรื่องงาน เรื่องกีฬาล้วนแต่กำเนิดมาจากนิสัยอันเอื่อยเฉื่อยของโนบิตะทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามหากอัด "แรงม้า" เข้าไปในตัวของโนบิตะเสียหน่อยแล้ว รับรองว่าย่อมไม่ใช่ปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ เพราะฉะนั้นโดราเอม่อนจึงเอา "ลานสุดฟิต" ออกมาช่วยโนบิตะที่หัวใจกำลังจะแตกสลาย นี่ก็เป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่ยืนยันว่า โดราเอม่อนไม่ได้ใจอ่อน เอาของวิเศษออกมาช่วยทุกครั้งจนแขนขาโนบิตะไม่เป็นอันกระดิก

เมื่อนำของวิเศษออกมาใช้ ปัญหาของโนบิตะก็คลี่คลายลงไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะใช้ของวิเศษได้คล่องแคล่วสักเพียงใด ก็ไม่สามารถแก้ไปถึงต้นตอปัญหาต่างๆ ได้ ท้ายที่สุดแล้วความมุ่งมั่น และความอยากลองอยากท้าทาย ที่ช่วยให้ปัญหาต่างๆคลี่คลายลงได้อย่างถาวร

ขอขอบคุณหังสือ "วิถีแห่งโนบิตะ ชัยชนะของคนไม่เอาถ่าน"

โยโดยาม่ ยาสุยุกิ (เขียน)

และ ศณ สุวรรณรัตน์ (แปล)

ถ้าเพื่อนๆ คนใดสนใจในบทความข้างบนนี้แล้วละก็ สามารถหาซื้อหนังสือนี้ได้ ชื่อหนังสือ "วิถีแห่งโนบิตะ ชัยชนะของคนไม่เอาถ่าน" หน้าปกหนังสือจะเป็นรูปข้างบนนะค่ะ

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ทะเลสีดำ

ทะเลสีดำ ไม่มีแสงไฟ มองไม่เห็นทาง เธอกลัวหรือไม่ ได้ยินเสียงเธอ จะกลัวอะไร จับมือฉันไว้ ฉันก็อบอุ่น...หัวใจ เธออาจเหน็บหนาว ทุกคราวที่เจอะคลื่นลมก็ห่มใจฉันด้วยความอบอุ่นของเธออาจมองไม่เห็นที่เส้นขอบฟ้าไกลยังมีแสงดวงดาวจะคอยนำทางให้เราก้าวไป เธอแน่ใจ... ฉันแน่ใจ...ทะเลสีดำ ไม่นานก็เช้า ค่ำคืนเหน็บหนาว จับมือฉันไว้ ทะเลสีดำ ไม่ต้องหวั่นไหว จะทำเช่นไร กอดฉันไว้...เธอ ทะเลสีดำ ทำให้ฉันกลัว อาจทำให้เธอ นั้นต้องลำบาก ไม่เห็นเป็นไร อย่าไปคิดมาก มันคงไม่ยาก เพียงเธอจับมือฉัน เธออาจเหน็บหนาว ทุกคราวที่เจอะคลื่นลม ก็ห่มใจฉันด้วยความอบอุ่นของเธออาจมองไม่เห็นเส้นตรงขอบฟ้าไกลยังมีแสงดวงดาวยังคอยนำทางให้เราก้าวไป เธอแน่ใจ... ฉันแน่ใจ... ทะเลสีดำ ไม่นานก็เช้า ค่ำคืนเหน็บหนาวจำมือฉันไว้ทะเลสีดำไม่ต้องหวั่นไหวจะทำเช่นไร กอดฉันไว้....เธอ

วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2551

Come back จาการ์ต้า

Jakarta



กลับจากทำงานเหนื่อยซะเราแทบแย่ เฮ้ย! อยากเรียกเมืองนี้ประเทศนี้ว่าที่รักได้มั๊ง "จาการ์ต้าที่รัก" ไปบ่อยเหลือเกิน เกิดมาในชีวิตไปจาการ์ต้าประมาณ 10 กว่าครั้งได้แล้วมั๊ง ไปกี่ครั้ง กี่ครั้งก็ยังเหมือนเดิมทุกที ไมีมีเปลี่ยน แต่การไปครั้งนี้ของเาแตกต่างจากวันก่อนโดยสิ้นเชิง การไปครั้งนี้ของเรา เป็นการไปเพื่อทำงาน มีหน้าที่ี่ต้องรับผิดชอบเยอะมาก ซึ่งทุกๆครั้งเราจะไปเพื่อท่องเที่ยว หรือไม่ก็ผ่านมาเท่านั้น ไปจาการ์ต้าครั้งนี้เหนื่อยกว่าทุกครั้งเลยอะ สุดๆ ว่าได้ เดินทางวันที่ 28 มีนาคม 2551 เที่ยวบิน TG ถึงสนามบิน Sukarno Hatta ประมาณเที่ยง แล้วมีเพื่อนเก่าของเรามารับก็คือ Arthit แล้วเราไปอยู่โรงแรม Num Centre อยู่กับพี่ปาล์มมี่ (Continue Girl) ชั้น 6 ไปถึงโรงแรมก็เข้าสตูเลยเพื่อเตรียมตัวทำงานอะ ยังไม่ได้พักเลย เฮ้ย! ระยะเวลาที่อยู่ที่นั้นอะนะ แทบทุกวัน ต้องตื่นตั้งแต่ตี 5 อาบน้ำแล้วเตรียมตัวไปสตูถ่ายทำ (ขอบอกว่าที่สตูร้อนสุดๆอะ จะไม่ร้อนได้งัยไม่มีแอร์แล้วไฟก็เยอะมากอะ) แต่ละวันจะถ่ายทำเสร็จไม่ตรงกัน บางวันก็ก็เสร็จเร็ว บางวันก็ช้า บางวันก็ถึงเช้าอีกวัน ใช้ชีวิตอยู่ที่นั้นเป็นเวลา 1 เดือนเต็มๆ เหนื่อยมากนะ เฮ้ย! อนหายใจวันล่ะ 10 รอบได้มั๊ง อิ อิ แต่มันก็เป็นประสบการณ์ที่ดีและเจอมิตรภาพที่เยี่ยมอีกครั้งหนึ่งในชีวิตอะนะ

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

คำคม "สื่อสารเพื่อบริการ"

กล่าวว่า
ศิลปะการสื่อสาร คือ สิ่งที่ำเป็นของผู้นำ
ผู้นำที่แท้จริงและดีที่สุด ไม่ใช่ผ้สร้างความแตกแยก
แต่ต้องสร้างความสามัคคี ภาวะผู้นำไม่ได้เกิดจากความว่างเปล่า
แต่เกิดจากการรู้เขา รู้เรา เข้าใจซึ่งกันและกัน...
ไม่ใช่เรื่องของอำนาจ แต่เป็นเรื่องของการบริการ...
ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อการบริการ
จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับบุคคลเกือบทุกอาชีพ...ทั้งผู้นำ...ผู้ตาม
เป็นดัชนีชี้วัดความเป็นมืออาชีพ...และที่สำคัญยิ่งคือ...
การบริการเป็นสิ่งแสดงความสูงส่งของจิตใจ...
เพราะหากเข้าใจชีวิตอย่างลึกซึ้งจะพบว่า...
เราม่ได้เกิดมาในโลกนี้ เพื่อเป็นผู้รับและครอบครอง
แต่เกิดมาเพื่อเป็นผู้ให้และบริการ...

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2550

เยือนถิ่น Made in China

งานเข้า เมื่อไปจีน


มาถึงเมื่อจีน และพำนักอยู่ที่นี้มาก็เกือบสองอาทิตย์แล้วอะ ไม่รู้จะเล่าเรื่องราวดีๆ (อาจจะดีและไม่ดีปนๆไปอะนะ) เลยมาเจอเจ้า Blog 5555+ และแล้วเสร็จเรา ได้เหยื่อมาแล้ว วันนี้เลยจัดการยำซะเลยเรา
เข้าเรื่องดีกว่า อยากจะเล่าตั้งแต่วันที่เจอกับพี่ๆและทีมงานของเรา ทีมที่ไปพร้อมเรามีประมาณ 14-15 คน น่าจะได้ นัดเจอกันที่สนามบินตีสองหรือตีสามน่าจะได้ (อะไรอะเนี๊ยะ มาไม่กี่วันสมองเราจำอะไรไม่ได้ซะแล้วเหรอ) พอรวมตัวกันได้เราก็ Chenck in ตรวจคนเข้าเมือง และก็ shop ใน duty free เดินไปเดินมาก็ถึงเวลาออกเดินทางแล้ว เอ้าถึงระยะเวลาที่ต้องคอย เบื่อๆอยู่ในเจ้านกยักษ์ (น่าเบื่อสุดๆ) ใช้เวลาในการเดินทงพอสมควร พอถึงสนามบิน เจอการดูแลจกเจ้าภาพอยางดีเยี่ยมเลยเรา (แบบว่าต้องยกกระเป๋าเอง ช่วยเหลือตัวเอง สุดๆๆ ก็ในกระเป๋าอันหนักอึ้ง มีแต่บทละครเต็มกระเป๋าอะนะ เลยเซ็งเลยเรา) เสร็จจากสนามบินก็ออกเดินทางต่อไป Heng Tiang สถานที่ถ่ายละครของเรา ต้องนั่งจากเซี่ยงไฮ้ โดยรถบัส อีกประมาณ 9-10 ชั่วโมง (ตายละหว้ากูนั่งไปเชียงใหม่นาจะได้เลยนะเนี๊ยะ) เอ้า!ว่าจะเล่าต่อ ไม่ทันแล้ว ต้องไปประชุมแล้วงานข้าแล้วล่ะเรา ไปล่ะ ค้างไว้เดี๋ยวมาเล่าต่อ (ถ้าไม่ลืม) อิ อิ





ปิ๋ว
Heng Tiang
21/12/07